๑.
โรคจิตเภท schizophrenia
โรคจิตเภทเป็นโรคทางจิตเรื้อรังซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ
ความคิด[thinking} ความรู้สึก{feeling} และพฤติกรรม[behavior]
สาเหตุ
เป็นโรคทางพันธุกรรมทำให้มีการพัฒนาของระบบประสาทผิดปกติ
เมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมก็เกิดโรคนี้ ได้แก่
การที่เกิดขาอออกซิเจนในระหว่างการคลอด
มารดาเป็นไข้ในตั้งครรภ์ไตรมาสที่2
มารดาเป็นไข้หวัดใหญ่ในขณะตั้งครรภ์
อาการแสดง
อาการแสดงจะแบ่งเป็นสองระยะได้แก่
อาการนำก่อนป่วย[prodome] อาการนำก่อนป่วยในผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน
บางคนอาการชัด บางคนอาการไม่ชัดอาการนำมักจะเกิดขณะวัยเรียน
อาการนำอาจจะมีอาการเป็นเดือนก่อนเกิดปรากฏอาการทางจิต
แยกตัวเล่น ไม่ยุ่งกับใคร แปลกประหลาด ไม่สามารถปฏิบัติตนให้สมบทบาทได้
เช่นบทบาทของการเป็นเพื่อน ลูก ไม่ดูแลตัวเอง เช่นไม่อาบน้ำหรือหวีผม บุคลิกเปลี่ยนจนเพื่อนสังเกตเห็น มีความคิดแปลกๆห่วงใยรูปร่างหน้าตา ชอบดูกระจก
กลัวผิดปกติ มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
อาการทางจิต
ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันได้มาก แม้แต่ผู้ป่วยคนเดียวกัน ต่างเวลาอาการของเขาก็อาจจะแตกต่างกันอาการที่ทำให้ผู้ป่วยพบแพทย์
อาการทางจิต ผู้ป่วยจะมีอาการ ประสาทหลอน เช่น
หูแว่ว ตาฝาด
ระแวง กลัวคนทำร้าย คิดว่ามีคนสะกดรอยตามปองร้าย
แปลความหมายเหตุการณ์รอบตัวผิดจากความเป็นจริง
เช่นเพื่อนลูปหน้าแปลว่าหน้าด้านไม่รู้จักอาย
อาละวาด ทำลายข้าวของ พยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายผู้อื่นความสามารถใน การดำเนินชีวิตเสื่อมลง
การเรียนเลวลง หรือเรียนไม่ได้การงานบกพร่อง ทำงานไม่ได้เท่าที่เคยทำ
เกียจคร้าน
ความสัมพันธ์กับบุคลอื่นไม่ราบรื่น เข้ากับคนอื่นไม่ได้ ระแวง
คิดแปลเจตนาของผู้อื่นในทางลบ หงุดหงิด
ไม่ใส่ใจดูแลตัวเอง ไม่อาบน้ำ ไม่แต่งตัวให้เรียบร้อย ไม่หวีผม
ห้องนอนสกปรก
ผู้ป่วยบางรายมาหลังจาก ดื่มเหล้ามาก
ใช้สารเสพติด
การป่วยทางกาย
ลักษณะทั่วไป
ผู้ป่วยจะมีกริยาท่าทางประหลาด
แต่งตัวไม่เรียบร้อย สกปรก มีกลิ่นเหมือนไม่อาบน้ำแปรงฟัน การเคลื่อนไหว
บางคนหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวน้อย หรือไม่อยู่นิ่ง ลุกลน
พฤติกรรมทางสังคม เก็บตัว แยกตัว
หรือวุ่นวายเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ควร
การพูดมีหลายแบบ พูดจาได้ความดี พูดไม่รู้เรื่อง
พูดน้อย หรือไม่พูดเลย
อารมณ์ บางคนสีหน้าราบเรียบ ไม่แสดงอารมณ์อะไร
บางรายสีหน้าไม่สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูด และบางรายสีหน้าปกติ
ความคิด Though
ผู้ป่วยบางรายไม่มีความคิดออกมาเลย
บางรายมีความคิดหลั่งไหลออกมารวดเร็วและบางคนคิดเหมือนคนปกติ
ความคิดมักจะไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเรื่องก่อนที่เรื่องกำลังกล่าวจะจบ มีอาการหลงผิด
เช่นหวาดระแวงว่าคนจะทำร้าย หูแว่ว ตาฝาด และประสาทหลอน
และมักจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารทั้งการรับและการส่ง
เช่นโกรธอย่างรุนแรงโดยไม่มีเหตุผลหรือเฉยไม่ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโดยอาการเป็นสำคัญ
ผู้ป่วยมีลักษณะดังต่อไปนี้
มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ
ป่วยเรื้อรัง
ความสามารถในการดำรงชีวิตเสื่อมถอย เช่น
ทำงานไม่ได้ พึ่งตนเองไม่ได้
เมื่อป่วยแล้วไม่หายเป็นปกติเหมือนก่อนป่วย ต้องวินิจฉัยแยกโรคต่อไปนี้
Bipolar disorder โรคนี้เวลาหายจะเหมือนคนปกติ
การป่วยบางครั้งเป็น
· โรคจิตเพราะพิษสุรา
หรือสารเสพติด เช่น ยาบ้า กัญชา ยาลดความอ้วน
· โรคทางกาย
เช่น SLE โรคลมชัก
โรคเนื้องอกในสมอง
การรักษา ทำได้ 3 ทางด้วยกัน
· รักษาอาการให้หาย
เป็นการใช้ยาในการรักษายาที่ใช้ได้แก่
· Haloperidol
· Resperidone
· Clozapine
ป้องกันมิให้กลับเป็นซ้ำ
หากกินยาสม่ำเสมอการกำเริบจะน้อย สาเหตุที่กำเริบคือการถูกตำหนิติเตียนเป็นประจำ
การป้องกันไม่ให้โรคกำเริบคือ กินยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง อย่าบ่นว่า
ตำหนิ วิจารณ์ซ้ำซาก
๒.
โรคประสาทแบ่งเป็นประเภทต่างๆ คือ
Neurosis
1. ประเภทวิตกกังวล (Anxiety Neurosis) เป็นอาการทางประสาทประเภทหนึ่งที่จิตมีอาการวิตกกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ความวิตกเหล่านี้มักเกิดในเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจมาก่อน เรื่องที่เคยทำให้เกิดความสูญเสีย
เรื่องต่างๆเหล่านั้น อาจเป็นเรื่องเดิมๆหรือเรื่องใหม่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นมีผลทำให้เกิดภาวะเครียด หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เบื่ออาหาร มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย
มักมีอาการเก็บไปฝันขณะนอนหลับ เพ้อ
2. ประเภทหวาดกลัว (Phobic Neurosis) มักเกิดขึ้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เคยประสบกับเหตุการณ์มาก่อน
จนทำให้เกิดความกลัวอย่างรุนแรงในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงวัตถุที่เป็นองค์ประกอบของเหตุการณ์นั้น ๆอาการหวาดกลัวจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ
3. ประเภทย้ำคิดย้ำทำ (Obscessive Compulsive Neurosis) เป็นสภาวะที่เกิดจากความวิตกกังวลเป็นพื้นหลัง
และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือการกระทำเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากสภาวะเหล่านั้นด้วยการกระทำแบบเดิมซ้ำๆกัน
จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถูกปลูกฝังในจิตใจต่อการแก้ไขปัญหาของตนเองด้วยการกระทำหรือแสดงลักษณะอาการแบบเดิม
โดยที่ตนเองไม่รู้ตัวหรือควบคุมตัวเองไม่ได้
4. ประเภทซึมเศร้า (Depressive Neurosis) สภาวะซึมเศร้ามักเกิดจากสภาวะจิตใจที่มีความแปรปรวน
และมีความขัดแย้งภายในใจ รวมไปถึงภาวะเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญเสีย
และเศร้าเสียใจตามมา ผู้ป่วยประเภทนี้มักคบคิดถึงเรื่องราวนั้นเป็นประจำ
และไม่ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทำให้มีอาการเหม่อลอย ซึมเศร้า ชอบเก็บตัว
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ และมีอาการท้องผูก ฯลฯ
5. ประเภทบุคลิกวิปลาส (Depersonalization) เป็นโรคประสาทที่เกิดกับการครุ่นคิดเกี่ยวกับการกระทำหรือพฤติกรรมของตนเอง
ที่รู้สึกเหมือนไม่ใช่ตัวเองกระทำ มักเกิดร่วมด้วยกับอาการวิตกจริต
สาเหตุการเกิดโรค
1. สาเหตุทางพันธุกรรม
และโครงสร้างของร่างกาย ที่ทำให้เกิดความบกพร่องของร่างกาย เช่น การสูญเสียอวัยวะ
การพิการแต่กำเนิด เป็นต้น
2. สาเหตุทางสังคม และการใช้ชีวิต
ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วทำให้การปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ทัน
การถูกตอกย้ำทางสังคมในจุดด้อยที่ตนเองมี รวมไปถึงปัญหาชีวิตในด้านต่างๆ
3. สาเหตุทางชีวะเคมี
ที่เกิดจากภาวะร่างกายเจ็บป่วยหรือผิดปกติจากสาเหตุต่างๆ ทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีต่างๆผิดปกติ
มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท สมอง ส่งผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรมของโรคทางประสาท
4. สาเหตุจากสารเสพติด
ที่ผู้ป่วยมีการใช้สารเสพติดหรือสารที่มีผลต่อระบบประสาทมากเกินขนาดหรือสะสมเป็นเวลานาน
ทำให้เกิดอาการทางประสาทตามมา
5. สาเหตุทางอายุ
ในวัยเด็กเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัวอย่างรุนแรง
เด็กมักจดจำได้นาน และเก็บฝังภายในจิตใจ รวมไปถึงจุดพร่องที่ตนเองมีในวัยเด็ก
เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์เหล่านั้นก็มักจะเกิดความกลัวได้ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการเผชิญเมื่อเป็นวัยผู้ใหญ่
จะก่อให้เกิดความแปรปรวนของนิสัย
อาการของโรคประสาท
อาการของโรคประสาทมีลักษณะเด่นในเรื่องของการวิตกกังวลเป็นพิเศษ
และมีอาการอื่นร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการเหล่านี้ คือ
1. มีอารมณ์เครียด
วิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติ
2. ชีพจรเต้นแรง เร็ว ใจสั่น มีอาการแน่นหน้าอก
อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และปัสสาวะบ่อย
3. มีอาการเกร็งของระบบกล้ามเนื้อ มือสั่น
กล้ามเนื้อกระตุก
4. มักมีความคิดซ้ำซาก ย้ำคิดย้ำทำ
วนไปวนมา ในสิ่งที่ตนเองกังวล และมักคิดในแง่ร้าย
ร่วมด้วยอาการกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
5. มีอาการเหม่อลอย ซึมเศร้า
6. มีอาการตกใจง่ายเมื่อมีเสียงดังหรือมีเหตุการณ์ที่น่าตกใจ
การรักษาโรคประสาท
การรักษาอาการของโรคประสาทจะเน้นที่การเปลี่ยนแปลงทางกระบวนการคิดของผู้
ป่วยเป็นหลักที่จะส่งผลต่อพฤติกรรม และความคิดให้เหมือนคนปกติทั่วไป
ปัจจุบันทางการแพทย์มักใช้แนวทาง ดังนี้
1. การใช้ยา
ในระยะการรักษาขั้นต้นอาจมีการใช้ยาหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือใช้ยาเพื่อ
ลดอาการในระยะแรก ในการลดความวิตกกังวล เช่น ยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาบำรุงประสาท
เป็นต้น
2. การรักษาทางจิตใจหรือทางแพทย์เรียก
จิตบำบัด ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด
เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดทำให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง ยอมรับในความเป็นจริง
3. พฤติกรรมบำบัด
วิธีนี้มักใช้ควบคู่ไปกับกระบวนการจิตบำบัด
โดยการฝึกให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความเครียด
ความวิตกกังวลของตนเองด้วยวิธีการต่างๆ
สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า
เพื่อลดความเครียด และอาการที่อาจแสดงออกทางร่างกายจากภาวะวิตกกังวล
4. แต่หากผู้ป่วยบางรายสามารถรับรู้ถึงภาวะที่ตนเองเป็นอยู่
ก็อาจสามารถบำบัดอาการป่วยทางจิตไดด้วยตนเอง
ด้วยการจัดการความเครียดหรือความวิตกกังวลด้วยวิธีต่างๆ เช่น การนั่งสมาธิ
การเข้าวัดฟังธรรม การท่องเที่ยวหรือการปรึกษาคนใกล้ชิด เป็นต้น
การป้องกัน
1. สำหรับวัยเด็ก
ปัจจัยทางด้านครอบครัวถือเป็นสิ่งสำคัญ การอบรมเลี้ยงดู การเอาใจใส่
การไม่สร้างความรุนแรงกับเด็กทั้งทางร่างกาย และจิตใจ
ย่อมสามารถป้องกันภาวะโรคประสาทในเด็กได้เป็นอย่างดี
2. สำหรับผู้ใหญ่ การฝึกจิตให้รู้จักตนเอง
คนรอบข้าง และยอมรับถึงสถานการณ์ต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้
ย่อมทำให้เป็นผู้มีจิตใจเข้มแข็ง สามารถเผชิญกับทุกเรื่องราวได้
3. การรู้จักให้อภัยในสิ่งที่ผิดพลาดจากการกระทำ
และไม่ซ้ำเติม
4. การให้กำลังใจเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์หรือสภาวะที่ทำให้เกิดความเสียใจ
หรือการกระทำที่ผิดพลาดในอดีต
รวมถึงกำลังใจในการต่อสู้ต่อสิ่งบกพร่องต่างๆของผู้ป่วย อาทิ คนกำพร้า ผู้พิการ
เป็นต้น
5. การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพของตนเอง
รวมถึงการสร้างความสุขให้ตนเอง และครอบครัวด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ การกีฬา
การเที่ยวพักผ่อน เป็นต้น ถือเป็นยาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันทางจิตที่ดีที่สุด
๓.
major
depressive disorder
โรคซึมเศร้ามีสาเหตุจากอะไร?
ปัจจุบัน สาเหตุโรคซึมเศร้า
ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน เชื่อว่ามาจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ทั้งทางด้าน
ชีวภาพ จิตใจ และสังคม (Biopsychosocial
model) โดยไม่ทราบว่าปัจจัยใดเกิดก่อนหลัง
แต่ทั้งนี้พบว่า สาเหตุทางกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญ โดยพบว่า
ถ้ามีญาติพี่น้องเป็นโรคซึมเศร้า จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น 2-3 เท่า ปัจจัยอีกอันหนึ่งคือ ปัจจัยด้านสังคมที่ยุ่งเหยิง
มีความเครียด วิธีเลี้ยงดูในวัยเด็ก
อาการของโรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะมีอารมณ์ซึมเศร้า หดหู่
หมดความสนุก หรือหมดอาลัยตายอยาก (Anhedonia)
คงอยู่นานตั้งแต่สองสัปดาห์ขึ้นไป
โดยมีอาการด้านต่างๆ ดังนี้
อาการทางกาย
(Neurovegetative or Somatic
Symptoms) เช่น
เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ปวดหัว/ปวดศีรษะ ปวดท้อง อ่อนเพลีย
อาการทางบุคลิกภาพ
เช่น มีอาการพูดช้า พูดเสียงเบา คิดช้า เคลื่อนไหวช้า แยกตัว
บางรายมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย นั่งไม่ติด ต้องเดินไปมา
อาการทางความคิด
ผู้ป่วยซึมเศร้ามักมีความคิดมองโลกแง่ร้าย วิตกกังวล ขาดสมาธิและความมั่นใจ
ในรายที่มีอาการมากๆ อาจหลงผิดมากจนเข้าขั้นโรคจิต (Psychosis) เช่น คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้ายตนเอง
และคิดฆ่าตัวตายได้
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคซึมเศร้าได้อย่างไร?
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า
มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย
5 ข้อ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อ 1) หรือ ข้อ 2) หนึ่งข้อ
ทั้งนี้ต้องมีอาการต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2
สัปดาห์
· ซึมเศร้า
· ความสนใจหรือความเพลินใจในสิ่งต่างๆลดลงอย่างมาก
· เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลดลงมากกว่า 5% ใน 1 เดือน
· นอนไม่หลับ หรือ นอนมากกว่าปกติ
· Psychomotor agitation หรือ retardation (อาการทางจิตประสาท เช่น หวาดระ แวง เห็นภาพหลอน หรือ หูแว่ว)
· อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
· รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือ รู้สึกผิด
· สมาธิลดลง ลังเลใจ
· คิดเรื่องการตาย หรือการฆ่าตัวตาย
จากเกณฑ์การวินิจฉัย
จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยสามารถประเมินตนเองเบื้องต้นว่า ตัวเองมีอาการเข้าได้กับโรคซึมเศร้าก่อนไปพบแพทย์
ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับอาการของตนเองกับแพทย์
ช่วยให้กระบวนการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องมากขึ้น
การรักษาโรคซึมเศร้าทำได้อย่างไร?
การรักษาโรคซึมเศร้าประกอบด้วยการใช้ยาต้านเศร้าและจิตบำบัด
จิตแพทย์จะประเมินผู้ ป่วย และวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยอย่างละเอียด
โดยส่วนใหญ่
โรคซึมเศร้าสามารถรักษาเป็นผู้ป่วยนอกได้ ยกเว้นกรณีอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เช่น
ติดยาเสพติด หรือคิด หรือพยายามฆ่าตัวตาย จึงจำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน
กระบวนการรักษา
ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
จึงสามารถบอกได้ว่าตอบสนองต่อการรัก ษาหรือไม่
และจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1-2 ปี
๔.
โรคกังวลทั่วไป (Generalized
Anxiety Disorder : GAD) back
ผู้ป่วยมีอาการกังวลเกินกว่าเหตุในหลายๆ
เรื่องพร้อมกัน ร่วมกับอาการทางกายต่างๆ โดยเฉพาะอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ
จนทำให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยในหลายๆ ด้าน
สาเหตุ
1. ปัจจัยด้านจิตใจ
แนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์มองว่าอาการวิตกกังวลเป็นจากความขัดแย้งใจจิตไร้สำนึกที่ไม่ได้ถูกแก้ไข
มีความผิดปกติในแง่ของการรับรู้และแปลผลต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในลักษณะมองโลกในแง่ร้าย
และยังประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของตนต่ำเกินจริงอีกด้วย
จึงทำให้เกิดความรู้สึกกลัวและกังวล
2. ปัจจัยด้านชีวภาพ ยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทหลายตัว เช่น GABA, serotonin ส่วนปัจจัยทางพันธุกรรมยังมีการศึกษาน้อยอยู่
เท่าที่มีก็ไม่พบความเกี่ยวข้องที่ชัดเจน
ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการเด่น ได้แก่
- กลุ่มอาการวิตกกังวล
ความวิตกกังวลนี้จะมีมาก(excessive) เป็นอยู่ตลอด(persistent) และเป็นไปกับแทบทุกเรื่อง (pervasive) เช่น กลัวสามีจะประสบอุบัติเหตุ
กลัวลูกถูกทำร้าย กลัวตึกถล่ม กลัวตนเองเจ็บป่วย ฯลฯ
- อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น
ใจสั่น เหนื่อยง่าย เพลีย หายใจขัด เหงื่อออก ท้องไส้ปั่นป่วน
- อาการระบบกล้ามเนื้อตึงเครียด เช่น
ปวดศีรษะ ปวดตามตัว กระสับกระส่าย ตัวสั่น
- Cognitive hypervigilance เช่น รู้สึกตื่นตัว ตกใจง่าย วอกแวก
การวินิจฉัย
A มีความวิตกกังวลมากเกินกว่าเหตุ (apprehensive expectation) ต่อหลายๆเรื่อง
B ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมความกังวลนี้ได้
C มีอาการทางกายต่างๆ ดังต่อไปนี้
(อย่างน้อย 3 ใน 6
ข้อ, หรือ ในเด็กมีเพียง 1 ใน 6 ข้อ)
1) กระสับกระส่าย
2) อ่อนเพลีย
เหนื่อยง่าย
3) มีปัญหาด้านสมาธิ ความจำ
4) หงุดหงิด
5) ปวดเมื่อย ตึงตามกล้ามเนื้อ
6) มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน
อาการทั้งหมดเป็นอยู่บ่อยๆ นานกว่า 6 เดือน
การวินิจฉัยแยกโรค
1. โรคทางกาย ต้องแยกจากโรคทางกายอื่นๆ
ทั้งหมดที่มีอาการของความวิตกกังวล
2. โรคทางจิตเวช ต้องแยกจากโรคจิตเวช เช่น
โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน และโรควิตกกังวลอื่นๆ
การรักษา
การรักษาที่ดีที่สุด คือ
การรักษาโดยจิตบำบัดร่วมกับการใช้ยา
1. จิตบำบัด
Cognitive behavior therapy โดยแก้ไขการมองโลกที่ผิดไปของผู้ป่วย
ให้กลับมามองอย่างถูกต้อง ร่วมกับการใช้ relaxation
technique เพื่อลดอาการทางกาย
Psychodynamic psychotherapy โดยพยายามช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจสาเหตุของความวิตกกังวล
และสามารถทนกับความกังวลนั้นได้มากขึ้น
2. การรักษาด้วยยา
Benzodiazepine เช่น diazepam ขนาด 5-15 มก./วัน
จะช่วยลดอาการวิตกกังวลและอาการทางกายได้ดี ซึ่งควรให้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน
๕.
บุคลิกภาพแปรปรวน (Personality
Disorders)
สาเหตุ
ปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดบุคลิกภาพแปรปรวน
แต่พบว่าปัจจัยที่อาจจะเป็นสาเหตุได้มีดังนี้
๑.
ลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด เช่น ลักษณะประจำตัวเด็กแต่ละคน
หรือการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
เช่นมีผู้พบว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาลมักจะมีบิดามารดาเป็นอันธพาล
แม้ว่าจะได้แยกเด็กไปให้คนอื่นเลี้ยงตั้งแต่วัยเด็กแล้วก็ตาม
นอกจากนั้นยังพบว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาลจะมีลักษณะของคลื่นสมองผิดปกติบ่อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ
(Goodwin และ Guze ค.ศ.
๑๙๗๙)
๒. การพัฒนาทางบุคลิกภาพ เช่น
การอบรมเลี้ยงดูอย่างขาดความอบอุ่นในวัยทารก
อาจทำให้ทารกนั้นกลายเป็นผู้ใหญ่ซึ่งขาดความไว้วางใจสิ่งแวดล้อม
หรือยึดติดกับการพัฒนาทางบุคลิกภาพในระยะปาก คือ เป็นคนรับประทานจุกจิก ปากจัด
ชอบวิจารณ์ หรือติดสุราและยาเสพติด การเข้มงวดกวดขันเกี่ยวกับการขับถ่ายในวัย ๑-๓
ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ความสุขของเด็กอยู่ที่ทวารหนัก
ก็อาจทำให้เด็กคนนั้นกลายเป็นคนพิถีพิถัน เจ้าระเบียบ เคร่งครัดในคุณธรรม
หรือกังวลเรื่องความสะอาดมากเกินไป เป็นต้น
๓.
ประสบการณ์ในวัยเด็กอาจส่งเสริมพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น –
๓.๑
เมื่อทำไม่ดีแล้วได้รับรางวัล
๓.๒
การถูกอบรมเลี้ยงดูที่เคร่งครัดเกินไป
๓.๓
การที่บิดามารดาหรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ
๔. ปัจจัยทางจิต-สังคม (psychosocial factor) มีผู้ศึกษาบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาล
พบว่าบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ
อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม และมีภูมิลำเนาอยู่ในเมือง
๕. ความผิดปกติในหน้าที่ของสมอง เช่น
โรคลมชัก การอักเสบของสมอง Arteriosclerotic
brain disease, Senile dementia และ Alcoholism ฯลฯ ทำให้บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงได้
หลักเกณฑ์การวินิจฉัย
(dsm-iii)
๑.
มีความระแวงสงสัยอย่างมากโดยไม่มีเหตุผล และขาดความไว้วางใจผู้อื่น
โดยแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๓ ประการ คือ
๑.๑ คาดว่าผู้อื่นมีเล่ห์เหลี่ยม
หรือเป็นอันตรายต่อตน
๑.๒ ระมัดระวังตัวมากเกินไป
โดยการพินิจพิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเพื่อค้นหาว่ามีการคุกคามต่อตนหรือไม่
หรือระมัดระวังตัวมากโดยไม่จำเป็น
๑.๓ ปิดบัง หรือมีความลับ
๑.๔ ไม่ยอมรับการตำหนิอย่างมีเหตุผล
๑.๕ ไม่ไว้ใจผู้อื่นว่าจะซื่อสัตย์ต่อตน
๑.๖ สนใจเกี่ยวกับส่วนเล็กๆ น้อยๆ
ของเรื่องต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องทั้งหมด
๑.๗
สนใจเกี่ยวกับเบื้องหลังที่เคลือบแฝง และความหมายพิเศษของสิ่งต่างๆ
๑.๘ อิจฉาริษยา
๒.
อารมณ์หวั่นไหวง่าย โดยแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๒ ประการ คือ
๒.๑ ถือโกรธในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
โดยง่าย
๒.๒ ทำปัญหาเล็กให้เป็นปัญหาใหญ่
๒.๓ พร้อมที่จะต่อสู้เมื่อถูกคุกคาม
๒.๔
ไม่สามารถผ่อนคลายความตึงเครียดของตนเองได้
๓.
อารมณ์แคบ (restricted affectivity) ซึ่งแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๒
ประการ คือ
๓.๑ ลักษณะภายนอกดูชาเย็น
และไม่มีอารมณ์
๓.๒ มักทำอะไรโดยอาศัยแต่เหตุผล
ไม่คำนึงถึงอารมณ์หรือความรู้สึกเลย
๓.๓ ขาดอารมณ์ขันอย่างแท้จริง
๓.๔ ไม่มีความรู้สึกอ่อนโยน
หรือความรู้สึกซาบซึ้งในเรื่องต่างๆ
๒. Schizoid personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบแยกตัว
ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ ขี้อาย ไม่ค่อยพูด
และแยกตัวจากสังคมหรือจากการใกล้ชิดกับผู้อื่นร่วมกับเพ้อฝันถึงเรื่องของตนเองบ่อยๆ
พฤติกรรมอาจแปลกไปบ้าง
หรือมีพฤติกรรมซึ่งแสดงว่าบุคคลนั้นพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ซึ่งมีการแข่งขัน
หรือหลีกเลี่ยงการแสดงความรู้สึกหรือความก้าวร้าวของตนให้ผู้อื่นทราบ
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย
(dsm-iii)
๑. อารมณ์ชาเย็นและเย่อหยิ่ง
ไม่มีท่าทีที่อบอุ่นและนุ่มนวลต่อผู้อื่น
๒. ไม่ยินดียินร้ายต่อคำชม คำวิพากษ์วิจารณ์
หรือต่อความรู้สึกของผู้อื่น
๓. มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลไม่มากกว่า ๑
หรือ ๒ คน ทั้งนี้รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวด้วย
๔. ไม่มีคำพูด พฤติกรรม หรือความคิดแปลกๆ
๓. Anankastic personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบเจ้าระเบียบ
สมบูรณ์แบบ หรือย้ำคิดย้ำทำ ประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือ ขาดความมั่นใจ ระแวงสงสัย
และรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างขาดตกบกพร่อง ทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อบาป
ความระมัดระวัง และความรอบคอบมากเกินไป เพื่อให้เกิดความมั่นใจ
รวมทั้งมีความดื้อรั้นดันทุรังด้วย แต่ความรุนแรงไม่ถึงขนาดเป็นโรคประสาท
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย
(DSM-III)
๑. ขาดความสามารถที่จะแสดงความอบอุ่นและความสุภาพต่อผู้อื่น
๒. ไม่ค่อยเข้าใจปัญหาทั้งหมด
มักจะสนใจรายละเอียด กฎเกณฑ์ หรือระเบียบเล็กๆ น้อยๆ ของปัญหาซึ่งไม่สำคัญ
๓. ต้องการให้ผู้อื่นกระทำตามวิธีของตน
โดยไม่สำนึกถึงความรู้สึกของเขาเกี่ยวกับการกระทำเช่นนี้ของจน
๔. อุทิศตนให้กับงานและผลงานของตน
โดยไม่คำนึงถึงความสุขหรือคุณค่าแห่งมนุษยสัมพันธ์
๕. ตัดสินใจไม่ได้
มักไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ เนื่องจากกลัวความผิดพลาดมากเกินไป
๔. Hysterical personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบฮีสทีเรีย
ประกอบด้วย ลักษณะที่สำคัญ คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายไม่มั่นคง
ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องการความชื่นชมยินดีและความเอาใจใส่จากผู้อื่นมากผิดปกติ
๕. Sociopathic or asocial personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบอันธพาล หรือแบบต่อต้านสังคม
ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ อารมณ์ไม่มั่นคง ขาดจริยธรรมและคุณธรรม
การตัดสินใจไม่ถูกต้อง และขาดความซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่นหรือหมู่คณะ
ปราศจากความเมตตากรุณา เอาแต่ใจตนเองโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย
(dsm-iii)
๑.
อายุที่กำลังมีความผิดปกติต้องไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี
๒.
ต้องเริ่มมีอาการก่อนอายุ ๑๕ ปี โดยมีประวัติต่อไปนี้อย่างน้อย ๓ ประการ ได้แก่
๒.๑ หนีโรงเรียนอย่างน้อย ๕ วันใน ๑ ปี
เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย ๒ ปี
๒.๒
ถูกภาคทัณฑ์หรือถูกไล่ออกจากโรงเรียน เนื่องจากความประพฤติไม่ดี
๒.๓ ประพฤติเป็นพาลเกเร
ถูกจับหรือถูกส่งไปที่ศาลเด็กเนื่องจากความประพฤติดังกล่าว
๒.๔ หนีออกจากบ้านตลอดคืนอย่างน้อย ๒
ครั้ง ขณะอาศัยอยู่กับบิดามารดา หรือบิดามารดาบุญธรรม
๒.๕ พูดปดเสมอ
๒.๖ สำส่อนทางเพศ
๒.๗ ดื่มสุราหรือใช้ยาอย่างผิดๆ
หลายครั้ง
๒.๘ ลักขโมย
๒.๙ มีพฤติกรรมที่ป่าเถื่อน
๒.๑๐
ผลการเรียนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมาก
๒.๑๑ ชอบก่อการทะเลาะวิวาท
๖. Affective personality disorder ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ คือ
มีอารมณ์เศร้าหรืออารมณ์เป็นสุขต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
หรือมีอารมณ์เศร้าสลับกับอารมณ์เป็นสุข ในระยะที่มีอารมณ์เศร้าจะมีความกังวล
มองโลกแต่ในแง่ร้าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และรู้สึกว่าตนหาประโยชน์มิได้
๗. Explosive personality disorder ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ อารมณ์ไม่มั่นคง
และไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์รุนแรง หรืออารมณ์รักของตนได้
อาจแสดงความก้าวร้าวออกทางคำพูดหรือการกระทำรุนแรง
๘. Asthenic personality disorder ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ
มักทำตามความต้องการของผู้ใหญ่หรือผู้อื่นง่าย
มีการตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตประจำวันของตนน้อย ไม่มีพลัง
ซึ่งอาจแสดงออกทางด้านเชาวน์ปัญญาและอารมณ์ และหวั่นไหวง่ายต่อความกดดันทุกชนิด
รวมทั้ง มองโลกแต่ในแง่ร้ายอยู่เสมอ และไม่ค่อยมีอารมณ์สนุกสนานรื่นเริง
การรักษาบุคลิกภาพแปรปรวน
การรักษาปัญหาบุคลิกภาพแปรปรวนเป็นสิ่งที่ลำบากมาก
เพราะบุคคลผู้นั้นมักไม่มีความต้องการจะรักษา การมาพบแพทย์มักเนื่องจากผู้อื่น
เช่น บิดามารดา คู่สมรส หรือนายจ้าง รบเร้าให้มา
แต่ก็มีบางรายที่มาเพราะกังวลจากผลสะท้อนทางสังคมเกี่ยวกับพฤติกรรมของตน หรือเพราะเริ่มค่อยๆ
เข้าใจว่าตนผิดปกติ หลักการรักษาคือ
๑. จิตบำบัดอย่างลึก (intensive psychoanalytically oriented
psychotherapy)
๒. จิตบำบัดเฉพาะตัว (individual therapy) การรักษาจะมุ่งเฉพาะพฤติกรรมที่ผิดปกติมากกว่าจะมุ่งที่ความขัดแย้งภายในจิตใจ
๓. จิตบำบัดกลุ่ม
๖.
Adjustment
disorder ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
คือ
ความผิดปกติในการปรับตัวต่อเหตุการณ์ภายนอก
ที่ส่งผลกดดันจิตใจผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มโรคประสาท (neurotic, stress-related disorders)ความผิดปกตินี้จะแสดงออกมาในด้านความวิตกกังวล
ซึมเศร้า หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
-ระยะเวลาที่เกิดมักภายใน 3 เดือนหลังได้รับความกดดัน
-อาการนี้เป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตผู้ป่วย
ไม่ใช่เป็นการกำเริมของโรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ก่อน
สาเหตุ
ความกดดันเหมือนกันแต่การปรับตัวไม่เหมือนกัน
การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมในเด็กมีผลอย่างมากต่อความสามารถในการปรับตัวของผู้ป่วย
อาการทางคลินิก
มีอาการเด่นได้หลายแบบ
1.-อารมณ์ซึมเศร้า หรือรู้สิ้นหวัง : with depressed mood
2.-ความวิตกกังวลหรือ jitterinessในเด็กกลัวพลัดพราก : with anxiety
3.-ความประพฤติผิดปกติ ละเมิดสิทธิผู้อื่น
ผิดกฎหรือบรรทัดฐานสังคม : with
disturbance of conduct
เช่น
หนีเรียน ทำลายสมบัติสาธารณะ ขับรถประมาท ชกต่อย ไม่ยอมรับผิดชอบทางกฎหมาย
4-แบบผสมอารมณ์ : with mixed anxiety and depressed mood
5-แบบผสมอารมณ์+พฤติกรรม : with mixed disturbance of emotion and conduct
6-unspecified มีการปรับตัวไม่เหมาะสมต่อเหตุการณ์เครียดที่ไม่ได้จัดแบ่งไว้ตามข้างบน
เช่น
มีอาการทางกาย แยกตัวออกจากสังคม การงานหรือการศึกษา
การวินิจฉัย
เกณฑ์ตาม DSN-IV-TR
A.มีอาการทางอารมณ์ หรือพฤติกรรม
ที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์หนึ่งหรือมากกว่า ทำให้เกิดความเครียดใน 3 เดือน หลังจากเริ่มต้นเหตุการณ์
B.อาการทางอารมณ์ หรือพฤติกรรมเหล่านี้
ทำให้เกิดลักษณะ
-รู้สึกทุกข์ทรมารอย่างมากเกินกว่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
จากการเผชิญเหตุการณ์นั้นๆ
-กิจกรรมด้านสังคม หรือ การงาน/การเรียน
บกพร่องลงอย่างสำคัญ
C.ความผิดปกติที่เกิดนั้นไม่ได้เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคใน
AxisI อื่นๆ และไม่ใช่เป็นการกำเริบของโรคใน AxisI,II
D.ไม่ใช่อาการจากปฎิกิริยาในการสูญเสียทั่วไป
E.เมื่อเหตุการณ์(ผลตาม)สิ้นสุดลงอาการจะคงอยู่ต่อไปไม่นานกว่า
6 เดือน
Acute ความผิดปกตินานน้อยกว่า 6 เดือน หากมากกว่า เป็น Chronic
การรักษา
จิตบำบัดดีสุด
เนื่องจากผู้ป่วยพยายามที่จะปรับตนเองอยู่แล้ว อาจทำรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
ยาที่ใช้
1.กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า เช่น sertraline
2.กลุ่มยาลดวิตกกังวล เช่น alprazolam, clonazepam
๗.
โรคสมองเสื่อม (Dementia)
โรคสมองเสื่อม แบ่งเป็นสองชนิดใหญ่ คือ
1. สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด (vascular dementia) เช่น หลังเกิดอัมพาต
หรือกรณีสมองเสื่อมจากหลอดเลือดเล็กๆตีบตัน หรือกรณีสมองเสื่อมจากเนื้อสมองทั้งหมดขาดออกซิเจนเช่นในกรณีช็อกหรือหัวใจหยุดเต้น
(Global hypoxic ischemic injury)
2. สมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) หมายถึงโรคสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
เมื่อตรวจภาพสมองจะพบเนื้อสมองเหี่ยว และเมื่อตรวจเนื้อสมองด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบเส้นใยประสาทพันกันเป็นกระจุก
(neurofibrillary tangles หรือ NFTs ร่วมกับมีตุ่มผิดปกติ
(senile plaques หรือ SPs) ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการความจำเสื่อมลงไปทีละน้อยในเวลาหลายปี
ตามมาด้วยพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีปัญหาการใช้ภาษา การทำงาน
และอาการทางระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
บางที่สองโรคนี้ก็พบในคนคนเดียวกัน
เรียกว่าเป็นแบบผสม (mixed
dementia)
การจัดการโรคสมองเสื่อม
การจัดการโรคสมองเสื่อมมีสี่ประเด็นหลัก
คือ
1. การประเมินว่ามีการเสื่อมการทำงานของสมอง
(cognitive dysfunction) อยู่จริงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
2. การยืนยันการวินิจฉัยด้วยภาพของสมอง
3. การสืบค้นหาสาเหตุที่แก้ไขได้
4. การบำบัดอาการของโรค
การประเมินความเสื่อมในการทำงานของสมอง
เครื่องมือประเมินพื้นฐานที่นิยมใช้กันทั่วไปคือการตรวจสภาพจิตอย่างย่อ
(Mini Mental Status Examination หรือ MMSE) ซึ่งมีหลักการตรวจและให้คะแนนการทำงานของสมองใน 8 ด้านดังนี้
1. การรับรู้เวลา
2. การรับรู้สถานที่
3. การรับข้อมูลใหม่
4. ความสนใจและการคำนวณ
5. การระลึกรู้ข้อมูล
6.
ภาษา
7. การลอกเลียน (Repetition)
8. การสั่งการของสมอง (Complex execution)
การทดสอบนี้มีคะแนนเต็ม
30 คนปกติควรได้ 25 คะแนนขึ้นไป
ถ้าได้คะแนนต่ำกว่านั้นแสดงว่ามีภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นมากน้อยตามคะแนนที่ได้
การยืนยันการวินิจฉัยด้วยภาพสมอง
การตรวจสมองด้วยภาพทำได้สองแบบคือ
การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) กับการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI)
ถ้าเป็นสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด
ภาพของสมองจะเห็นเนื้อสมองตาย (infarction)
ในบริเวณที่เลี้ยงด้วยหลอดเลือดที่เป็นโรค
ถ้าเป็นสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์
กรณีที่ตรวจด้วยเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)
จะเห็นว่าความแน่นของเนื้อสมองขาว (white matter) ลดลง กรณีตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI) จะเห็นสัญญาณบอกความแน่น (T1, T2 signal) ลดลง
ตรวจวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม
การสืบค้นหาสาเหตุที่แก้ไขได้
เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ก็ดี
โรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดก็ดี ล้วนไม่มีวิธีรักษา ความสำคัญจึงอยู่ที่การสืบค้นหาสาเหตุอื่นที่ก่อให้เกิดอาการสมองเสื่อมที่เป็นสาเหตุที่ยังแก้ไขได้
ได้แก่
1. การประเมินพิษเรื้อรังของยาที่รับประทานอยู่ซึ่งก่ออาการสมองเสื่อมได้
เช่น ยาสะเตียรอยด์ ยาดิจ๊อกซินรักษาโรคหัวใจ ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ
อินเตอร์เฟียรอนที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัส
ยาฟลูนาริซินซึ่งใช้ขยายหลอดเลือดในสมอง ยาอาแมนทาดีนซึ่งใช้รักษาโรคพาร์คินสัน
ยาลีวีทิราซีแทม ที่ใช้รักษาอาการชัก
2. ภาวะขาดวิตามินบี.12
3. ภาวะขาดโฟเลท
4. ภาวะขาดวิตามินดี
5. มีเลือดคั่งในกระโหลกศีรษะชั้นซับดูรา
6. โรคซึมเศร้า (major depression)
7. ภาวะน้ำคั่งในสมองโดยความดันสมองไม่เพิ่ม
(normal pressure hydrocephalus
-NPH)
8. โรคฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ต่ำ
ควบคู่ไปกับการประเมินภาวะเหล่านี้
แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อประเมินว่ามีโรคหลอดเลือดอยู่หรือไม่
การบำบัดอาการของโรค
เนื่องจากผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบสาเหตุที่แก้ไขได้
ทั้งตัวโรคนี้เองก็ไม่มียาหรือไม่มีวิธีการผ่าตัดที่จะทำให้โรคหาย
การจัดการโรคจึงมุ่งไปที่การบำบัดอาการที่มีอยู่เฉพาะหน้า ได้แก่
1. การป้องกันเส้นประสาทเสื่อม ยาที่นิยมใช้มี
estrogen replacement therapy (ในผู้หญิง), วิตามินอี วิตามินซี และยาแก้อักเสบ NSAID
2. การป้องกันความเสื่อมของเชาว์ปัญญา
ความเสื่อมของเชาวน์ปัญญาเกิดขึ้นพร้อมกับที่มีการลดจำนวนของเส้นประสาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฐานของสมองส่วนหน้า
มีข้อมูลเบื้องต้นว่ายาที่ออกฤทธิ์เสริมการส่งต่อสัญญาณประสาท (acetylcholinesterase inhibitors) ในสมอง มีผลเสริมเชาว์ปัญญา
(เช่นความจำ) ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้บ้าง
ยาเหล่านี้ได้รับอนุมัติให้เป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์แล้ว
แต่ก็ใช้เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น ไม่ได้รักษาโรคให้หาย
3. การบรรเทาอาการจิตเภท (psychosis)
โรคจิตเภท
หรือโรคบ้า ในคนสมองเสื่อมมักมีลักษณะสามอย่างคือ
(1) ระแวง เช่นระแวงว่าแฟนมีชู้
ระแวงว่ามีคนขโมยเงิน
(2) ประสาทหลอน
(3) เห็นภาพหลอน
อาการเหล่านี้บำบัดได้ด้วยยาจิตเวช
(neuroleptic drug) ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ
ยาจิตเวชดั้งเดิมซึ่งมีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้เกิดอาการสั่นแบบพาร์คินสันด้วย เช่นยา haloperidol (Haldol) และ risperidone (Risperdal) กับยาจิตเวชใหม่ซึ่งทำให้เกิดอาการสั่นแบบพาร์คินสันน้อยกว่าแต่ความแรงในการรักษาก็ต่ำกว่าด้วย
เช่น quetiapine (Seroquel) 15 มก.วันละ 1-2 ครั้ง หรือ olanzapine
(Zyprexa) 2.5
มก.วันละ 1-2 ครั้ง
4. การบรรเทาอาการกังวล (Anxiety)
ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักกังวลและ
“ติด” ผู้ดูแล
ยาใช้ช่วยลดความกังวล มีหลายตัวคือ (1)
Buspirone (BuSpar) 5 มก.วันละ 2 ครั้ง มักใช้เป็นตัวแรก (2) ยาในกลุ่ม Benzodiazepines
เช่นยา Xanax ซึ่งมีข้อเสียที่ทำให้ง่วงและบางครั้งกลับทำให้กระวนกระวาย (3) trazodone 50 มก. ก่อนนอน
ใช้ในรายที่มีอาการกังวลมาก
มาตรการรักษาด้วยยา
มียาที่แพทย์ใช้อยู่สองกลุ่ม คือ
(1) กลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) เหมาะกับคนสมองเสื่อม เช่น Sertraline (Zoloft) 25-50 มก.ต่อวัน Paroxetine (Paxil) 10-20 มก.ต่อวัน
(2) ยากลุ่ม Tricyclic antidepressants ไม่ค่อยเหมาะกับผู้สมองเสื่อม
เพราะทำให้สับสนและง่วงตอนกลางวัน
5. การบรรเทาอาการนอนไม่หลับ
ควรเริ่มด้วยมาตรการไม่ใช้ยาก่อน
เข้านอนให้เป็นเวลา จัดห้องนอนให้มืดและเงียบและใช้ห้องนอนเพื่อการนอนอย่างเดียว
อย่าตั้งโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ในห้องนอน
หลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมที่ตื่นเต้นหรือเครียดรวมทั้งการออกกำลังกายหนักๆก่อนนอน
เพราะจะทำให้ร่างกายตื่นและหลับยาก
มาตรการใช้ยา
แพทย์มักเลือกยาช่วยนอนหลับที่ออกฤทธิ์สั้น เช่น Diphenhydramine (Benadryl) 25-50 มก.ก่อนนอน Chloral hydrate (500-1000 มก.) ก่อนนอน หรือ Zolpidem 5-10 มก.ก่อนนอน เป็นต้น
การบรรเทาอาการร่วมอื่นๆ
ผู้เป็นโรคซึมเศร้าง
อาจมีอาการร่วมอื่นๆซึ่งแพทย์ต้องรักษาไปพร้อมกัน
การดูแล
การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม
เป็นปัญหาซับซ้อนที่รวมหลายปัญหาจากหลายมิติเข้าด้วยกัน
ทั้งด้านสภาพร่างกายของผู้ป่วย สภาพจิตใจ สภาพครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัว
แผนการดูแลจึงต้องจัดให้เหมาะ ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพของผู้ป่วยแต่ละคน
๘.
ปัญญาอ่อน(Mental Retardation)
คือสภาวะที่เชาวน์ปัญญาต่ำกว่าปกติ
ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดหรือในวัยเด็ก ทำให้การเรียนรู้ การปรับตัวในสังคม
ซึ่งหมายถึงการสามารถพึ่งตนเองและความสามารถรับผิดชอบต่อสังคมตามควรแก่วัยหรือตามที่สังคมของตนหวังไว้บกพร่องไป
รวมทั้งการพัฒนาทางบุคลิกภาพ ก็ไม่เจริญสมวัย
และเป็นพวกที่มีความผิดปกติในสมองร่วมด้วยเป็นส่วนใหญ่
สาเหตุ
๑.
ปัจจัยทางชีววิทยา พบได้ร้อยละ ๒๐-๒๕ ของผู้ป่วยปัญญาอ่อน
ที่พบบ่อยคือ ความผิดปกติของโครโมโซมและเมตาบอลิส์ม
ปัจจัยทางชีววิทยาจำแนกเป็น
๑.๑ ความผิดปกติในโครโมโซม เช่น Downs syndrome หรือ Mongolism, Turners syndrome และ Klinefelter’s
syndrome
๑.๒ การติดเชื้อหรือสภาวะเป็นพิษ (intoxication) ในมารดา ได้แก่ โรค Rubella, Toxoplasmosis, Syphilis, Cytomegalic
inclusion body disease และ Toxemia
pregnancy (ภาวะครรภ์เป็นพิษ)
๑.๓ การติดเชื้อหรือสภาวะเป็นพิษในทารก
ได้แก่ การติดเชื้อชนิดต่างๆ ของสมองและเยื่อหุ้มสมอง Kernicterus และ Post-immunization
๑.๔ ความผิดปกติในเมตาบอลิสม์และโภชนาการ
ได้แก่ โรค Lipoidoses, Phenylketonuria,
galactosemia, Hypothyroidism (cretinism) และการขาดอาหาร
๑.๕
ความกระทบกระเทือนต่อสมองจากการคลอด เช่น
การกระทบกระเทือนจากเครื่องมือที่ช่วยการคลอด ภาวะขาดอ๊อกซิเจน (asphyxia)
๑.๖ ความบกพร่องของระบบประสาท ได้แก่ Sturge-Weber syndrome, Tuberous sclerosis
(epiloia), Laurence-Moon-Biedle syndrome
๑.๗ ความบกพร่องของกระดูก ได้แก่ Genetic microcephaly, Hypertelolism และ Oxycephaly
๑.๘ การคลอดก่อนกำหนด (prematurity)
๒.
ปัจจัยทางจิต-สังคม (psychosocial
factor) หมายถึง
พวกที่ไม่พบสาเหตุทางชีววิทยาชัดIจน IQ ของผู้ป่วยที่เกิดจากปัจจัยนี้จะต่ำไม่มาก
คือ อยู่ระหว่าง ๕๐-๗๐ และมักจะสังเกตได้เมื่อเข้าโรงเรียน
พบในพวกที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำมากกว่า และมีประวัติปัญญาอ่อนในครอบครัวด้วย
ปัจจัยนี้ประกอบด้วย
๒.๑ การขาดความสัมพันธ์กับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม
(psychosocial or environmental
deprivation) แบบต่างๆ
เช่น การขาดการสังคม ไม่ได้รับการสอน ไม่ได้ยินได้ฟัง
หรือขาดการกระตุ้นทางเชาวน์ปัญญา
๒.๒ หลังการเจ็บป่วยทางจิตอย่างรุนแรง
๓.
เกิดจากทั้ง ๒ ปัจจัยร่วมกัน เช่น
เกิดความผิดปกติทางชีววิทยาและขาดการกระตุ้นทางเชาวน์ปัญญาด้วย
การจำแนกปัญญาอ่อนตามความรุนแรงของอาการ
เป็น ๔ ขนาด
๑.
ขนาดน้อย (Mild mental retardation) IQ = ๕๐-๗๐
๒.
ขนาดปานกลาง (Moderate mental retardation) IQ =
๓๕-๔๙
๓.
ขนาดรุนแรง (severe mental retardation) IQ = ๒๐-๓๔
๔.
ขนาดรุนแรงมาก (Profound
mental retardation) IQ ต่ำกว่า ๒๐
ลักษณะทางคลีนิค
ผู้ป่วยพวกนี้จะมีความสามารถในการเรียนรู้ด้อยกว่าเด็กปกติ
พึ่งตนเองไม่ค่อยได้ รับผิดชอบต่อสังคมได้น้อยกว่าที่ควรจะทำได้ตามวัยของตน และการเจริญทางบุคลิกภาพและอารมณ์
ไม่สมวัย
นอกจากนั้นยังมักพบปัญหาโรคจิต
โรคประสาทร่วมด้วย อาจมีปัญหาทางพฤติกรรม เช่น หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว temper tantrum, stereotyped movement หรือ hyperactivity และบ่อยๆ ที่มีความผิดปกติของระบบประสาทโดยเฉพาะในพวกที่เป็นรุนแรง เช่น
หูหนวกหรือ สายตาไม่ดี ชัก หรือ cerebral
palsy ยิ่งกว่านั้นการพัฒนาทางร่างกายยังช้าด้วย
การรักษา
แพทย์จะใช้วิธีการจิตบำบัดในการรักษา
๙.
ไซโคโซมาติค” ( Psychosomatic
Disorders ) หรือโรคจิตสรีระแปรปรวน (psychophysilogic disorder)ซึ่ง
เป็นโรคจิตทางจิตใจที่มีผลให้เกิดการทำงานของอวัยวะบางอย่างแปรปรวนไป
มีลักษณะเฉพาะดังนี้
1.
มีสาเหตุจากความตึงเครียดทางอารมณ์
และอาการจะกำเริบมากขึ้นถ้ามีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น
2.
มีอาการทางกาย โดยเกิดขึ้นกับอวัยวะหรือระบบเดียว
3.
อวัยวะที่เกี่ยวข้องเป็นอวัยวะที่ควบคุม โดยระบบประสาทอัตโนมัติ
4.
มีพยาธิสภาพเกิดขึ้นอย่างชัดเจนกับอวัยวะของร่างกาย
5.
ความวิตกกังวลไม่ลดลงแม้จะเกิดอาการ และอาการจะเพิ่มขึ้นถ้ามีความวิตกกังวลมากขึ้น
อาการ
อาการของความเครียดจะเกิดขึ้นในอวัยวะที่ถูกกำกับควบคุมโดยประสาทอัตโนมัติ ทำให้ประสาทอัตโนมัติเหล่านั้นทำงานมากขึ้นจนเกิดอาการต่างๆ เช่น
อาการของความเครียดจะเกิดขึ้นในอวัยวะที่ถูกกำกับควบคุมโดยประสาทอัตโนมัติ ทำให้ประสาทอัตโนมัติเหล่านั้นทำงานมากขึ้นจนเกิดอาการต่างๆ เช่น
·
ในระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร เกิดการหลั่งกรดมากผิดปกติ
ทำให้กระอาหารเป็นแผล ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน ลำไส้
เกิดการหดตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายบ่อย
·
ในระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นเร็ว
เต้นผิดจังหวะหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบลง มีไขมันมาเกาะ
ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง
·
ระบบกล้ามเนื้อ มีการหดตัว เกร็งแข็ง เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดคอ
ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อต่างๆทั่วตัว
·
ประสาทอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำงานโดยไม่สามารถบังคับหรือสั่งการได้
หล่อเลี้ยงอวัยวะภายในทั้งหมด ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ลำไส้ หลอดเลือด
·
ประสาทอัตโนมัติมีความเกี่ยวข้องกับสมอง และไขสันหลังเป็นอย่างยิ่ง
ความเครียดจะกระตุ้นอารมณ์ในสมอง ซึ่งจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติให้ทำงานผ่านแนวเชื่อมโยงกับไขสันหลัง
การทำงานนั้นอยู่นอกการควบคุมของจิตใจ
การดำเนินของโรค
โรคนี้มักเป็นในวัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ อาการเกิดสัมพันธ์กับความเครียดในการดำเนินชีวิต คนที่มีปัญหาบุคลิกภาพจะเกิดอาการได้มากกว่าคนทั่วไป ทำให้มีปัญหาในการทำงาน เกิดความเจ็บป่วยทางร่างกายมากๆจนไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เมื่อชีวิตไม่มีปัญหา อาการจะสงบลง
การวินิจฉัย โรคนี้สามมารถวินิจฉัยได้ด้วยตนเองโดยการประเมินตนเองจากมีความเครียด
โรคนี้มักเป็นในวัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ อาการเกิดสัมพันธ์กับความเครียดในการดำเนินชีวิต คนที่มีปัญหาบุคลิกภาพจะเกิดอาการได้มากกว่าคนทั่วไป ทำให้มีปัญหาในการทำงาน เกิดความเจ็บป่วยทางร่างกายมากๆจนไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เมื่อชีวิตไม่มีปัญหา อาการจะสงบลง
การวินิจฉัย โรคนี้สามมารถวินิจฉัยได้ด้วยตนเองโดยการประเมินตนเองจากมีความเครียด
การรักษา
การรักษาใช้หลายๆวิธีร่วมกัน ได้แก่
1.การรักษาโรคทางกายให้สงบ ตามอาการที่เกิด เช่น ใช้ยาลดกรดในกระเพาะรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ยาลดความดันโลหิตรักษาโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ การรักษานี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ก็จำเป็นต้องทำก่อน เพื่อลดอาการต่างๆ ให้ผู้ป่วยสบายขึ้น มิฉะนั้นอาการต่างๆเหล่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดต่อเนื่อง เป็นวงจรไม่รู้จบ
2. การรักษาทางจิตใจ
การรักษาใช้หลายๆวิธีร่วมกัน ได้แก่
1.การรักษาโรคทางกายให้สงบ ตามอาการที่เกิด เช่น ใช้ยาลดกรดในกระเพาะรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ยาลดความดันโลหิตรักษาโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ การรักษานี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ก็จำเป็นต้องทำก่อน เพื่อลดอาการต่างๆ ให้ผู้ป่วยสบายขึ้น มิฉะนั้นอาการต่างๆเหล่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดต่อเนื่อง เป็นวงจรไม่รู้จบ
2. การรักษาทางจิตใจ
·
การผ่อนคลายความเครียด และทำใจให้สงบ
·
การแก้ไขปัญหาชีวิตให้สำเร็จ
·
มีการปรับตัวกับบุคคลอื่นได้ดี
·
การออกกำลังกายให้แข็งแรง จิตใจเผชิญความเครียดได้ดี
·
มีการผ่อนคลาย งานอดิเรก พักผ่อนหย่อนใจ
3. การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
·
สถานที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย ไม่เครียด
·
การทำงานพอเหมาะ ไม่หนักมากเกินไป มีเวลาพักผ่อน
๑๐.
Sexual
Deviation
หมายถึง
การมีความรู้สึก ทัศนคติ และค่านิยม รวมไปถึงพฤติกรรมทางเพศที่แสดงออกไปไม่เหมาะสม
เบี่ยงเบนไปจากบุคคลทั่วไปในสังคมนั้นๆ
สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
1. ปัจจัยครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู ปลูกฝังความรู้หรือค่านิยมเรื่องเพศศึกษา ซึ่งมักมีค่านิยมผิดๆ และคิดว่าเรื่องเพศเป็นสิ่งที่ถึงเวลาก็รู้เองจึงปล่อยปละละเลย อีกทั้งผู้ปกครองยังเห็นว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องควรปกปิด ทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาขาดความรู้เรื่องธรรมชาติของกามารมณ์ แยกแยะไม่ได้ว่าพฤติกรรมทางเพศอย่างใดปกติ-ผิดปกติ
2. การแพร่กระจายของอารยธรรมตะวันตก ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น จังหวะการเต้นรำที่กระตุ้นอารมณ์ แฟชั่นเสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสม หรือการเห็นตัวอย่างผิดๆ ในวัยเด็ก เกิดเป็นบาดแผลทางใจ
3. โรคภัยไข้เจ็บและสุขภาพ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากเพราะจะมีผลถึงบุคลิกภาพที่แสดงออกมาอย่างเหมาะสมในเรื่องพฤติกรรมทางเพศ
4. เหตุทางจิตใจ อาจมีความผิดปกติทางจิตใจถึงได้แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา
1. ปัจจัยครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู ปลูกฝังความรู้หรือค่านิยมเรื่องเพศศึกษา ซึ่งมักมีค่านิยมผิดๆ และคิดว่าเรื่องเพศเป็นสิ่งที่ถึงเวลาก็รู้เองจึงปล่อยปละละเลย อีกทั้งผู้ปกครองยังเห็นว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องควรปกปิด ทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาขาดความรู้เรื่องธรรมชาติของกามารมณ์ แยกแยะไม่ได้ว่าพฤติกรรมทางเพศอย่างใดปกติ-ผิดปกติ
2. การแพร่กระจายของอารยธรรมตะวันตก ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น จังหวะการเต้นรำที่กระตุ้นอารมณ์ แฟชั่นเสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสม หรือการเห็นตัวอย่างผิดๆ ในวัยเด็ก เกิดเป็นบาดแผลทางใจ
3. โรคภัยไข้เจ็บและสุขภาพ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากเพราะจะมีผลถึงบุคลิกภาพที่แสดงออกมาอย่างเหมาะสมในเรื่องพฤติกรรมทางเพศ
4. เหตุทางจิตใจ อาจมีความผิดปกติทางจิตใจถึงได้แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา
อาการแสดง
1.Sodomy : เป็นการร่วมเพศทางเวจมรรค
ซึ่งบางประเทศถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
2. Fetishism : คือบุคคลไม่อาจมีความสุขทางเพศกับร่างกายหรืออวัยวะเพศของเพศตรงข้าม แต่กลับไปมีความสุข-ความพอใจทางเพศกับ "วัตถุสิ่งของที่ไม่มีชีวิต" บางชนิดที่เป็นสัญลักษณ์ทางเพศของเพศตรงข้าม 3. Kleptomania : ลักษณะคล้าย Fetishism แต่เกิดในสตรี แต่จะมีความสุดยอดในสภาวะตื่นเต้น พอใจจากการขโมยของหรือทรัพย์สินผู้อื่น
4. Transvestism : มีความสุขทางเพศจากการได้แต่งตัว แต่งหน้าสวมใส่เสื้อผ้าหรือแสดงลักษณะท่าทางตรงข้ามกับเพศของตน
2. Fetishism : คือบุคคลไม่อาจมีความสุขทางเพศกับร่างกายหรืออวัยวะเพศของเพศตรงข้าม แต่กลับไปมีความสุข-ความพอใจทางเพศกับ "วัตถุสิ่งของที่ไม่มีชีวิต" บางชนิดที่เป็นสัญลักษณ์ทางเพศของเพศตรงข้าม 3. Kleptomania : ลักษณะคล้าย Fetishism แต่เกิดในสตรี แต่จะมีความสุดยอดในสภาวะตื่นเต้น พอใจจากการขโมยของหรือทรัพย์สินผู้อื่น
4. Transvestism : มีความสุขทางเพศจากการได้แต่งตัว แต่งหน้าสวมใส่เสื้อผ้าหรือแสดงลักษณะท่าทางตรงข้ามกับเพศของตน
5. Sadism : ภาวะที่คนมีความสุข
ตื่นเต้นเร้าใจที่เห็นคู่นอนเกิดความเจ็บปวดทรมานร่างกายหรือจิตใจ
ตั้งแต่เจ็บปวดเล็กน้อยจนถึงทรมานอย่างหนัก เช่น เฆี่ยน โบย ใช้มีดกรีดตามร่างกาย
6. Masochism : ภาวะที่คนมีความสุขทางเพศ เมื่อตนเองได้รับความเจ็บปวดทรมานหรือความอัปยศ หรือถูกเหยียดหยามจากคู่นอน
7. Exibitionism : ตื่นเต้นถ้าได้เปิดอวัยวะเพศของตนในที่สาธารณะ มักพบในเพศชาย อาจสำเร็จความใคร่และอาจมีความสุขสุดยอดได้ แต่มักไม่ทำร้ายหรือแตะต้องเหยื่อ
8. Voyeurism : พวกถ้ำมอง ชอบแอบดูร่างเปลือยหรือการร่วมเพศของผู้อื่น ส่วนมากมักเป็นเพศชาย อายุอยู่ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่นมากกว่าวัยผู้ใหญ่
9. Frotleurism : มีความสุขทางเพศโดยการเบียด เสียดสี ถูไถกับผู้อื่น พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยจะถือโอกาสเบียดเสียดกับผู้คนในที่ที่มีคนหนาแน่น
10. Incest : มีเซ็กส์กับสมาชิกในเครือญาติ-ครอบครัวที่สืบสายเลือดเดียวกัน กรณีนี้แทบทุกสังคมถือเป็นความผิดทั้งทางกฎหมายและศีลธรรม
11. Pedophilis : พอใจมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก มักเป็นผู้มีปมด้อยไม่สามารถมีความสุขกับหญิงสาวได้ เท่าที่ผ่านมาบางคดีไม่รุนแรงและไม่ทำอันตรายเด็กเพียงแต่ใช้เด็กมากระตุ้นสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง แต่ในกรณีที่รุนแรงอาจถึงขั้นฆ่าปิดปาก
12. Gerontophilia : มีความสุขทางเพศกับคนสูงอายุ
13. Nymphomania : ผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูงมาก จนควบคุมอารมณ์เพศของตนไม่ได้
6. Masochism : ภาวะที่คนมีความสุขทางเพศ เมื่อตนเองได้รับความเจ็บปวดทรมานหรือความอัปยศ หรือถูกเหยียดหยามจากคู่นอน
7. Exibitionism : ตื่นเต้นถ้าได้เปิดอวัยวะเพศของตนในที่สาธารณะ มักพบในเพศชาย อาจสำเร็จความใคร่และอาจมีความสุขสุดยอดได้ แต่มักไม่ทำร้ายหรือแตะต้องเหยื่อ
8. Voyeurism : พวกถ้ำมอง ชอบแอบดูร่างเปลือยหรือการร่วมเพศของผู้อื่น ส่วนมากมักเป็นเพศชาย อายุอยู่ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่นมากกว่าวัยผู้ใหญ่
9. Frotleurism : มีความสุขทางเพศโดยการเบียด เสียดสี ถูไถกับผู้อื่น พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยจะถือโอกาสเบียดเสียดกับผู้คนในที่ที่มีคนหนาแน่น
10. Incest : มีเซ็กส์กับสมาชิกในเครือญาติ-ครอบครัวที่สืบสายเลือดเดียวกัน กรณีนี้แทบทุกสังคมถือเป็นความผิดทั้งทางกฎหมายและศีลธรรม
11. Pedophilis : พอใจมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก มักเป็นผู้มีปมด้อยไม่สามารถมีความสุขกับหญิงสาวได้ เท่าที่ผ่านมาบางคดีไม่รุนแรงและไม่ทำอันตรายเด็กเพียงแต่ใช้เด็กมากระตุ้นสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง แต่ในกรณีที่รุนแรงอาจถึงขั้นฆ่าปิดปาก
12. Gerontophilia : มีความสุขทางเพศกับคนสูงอายุ
13. Nymphomania : ผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูงมาก จนควบคุมอารมณ์เพศของตนไม่ได้
14. Sotyriasis : ตรงข้ามกับ Nymphomania คือ
ผู้ชายที่มีความต้องการทางเพศสูงผิดปกติ
15. Coprolalia : เสพติดการได้กระทำเรื่องลามก อนาจารจนควบคุมตัวเองไม่ได้ พบในชายมากกว่าหญิง เช่น โทรศัพท์ขอร่วมเพศ พูดคำอนาจาร
16. Urolagnia : ภาวะที่คนมีความสุขทางเพศโดยมี "ปัสสาวะ" เป็นองค์ประกอบ
17. Necrophilia : ร่วมเพศกับศพ หรือชิ้นส่วนอวัยวะของศพ
18. Bestiality (Loophilia) : มีความสุขทางเพศจากการร่วมเพศกับสัตว์
15. Coprolalia : เสพติดการได้กระทำเรื่องลามก อนาจารจนควบคุมตัวเองไม่ได้ พบในชายมากกว่าหญิง เช่น โทรศัพท์ขอร่วมเพศ พูดคำอนาจาร
16. Urolagnia : ภาวะที่คนมีความสุขทางเพศโดยมี "ปัสสาวะ" เป็นองค์ประกอบ
17. Necrophilia : ร่วมเพศกับศพ หรือชิ้นส่วนอวัยวะของศพ
18. Bestiality (Loophilia) : มีความสุขทางเพศจากการร่วมเพศกับสัตว์
ระยะดำเนินโรค
โรคนี้ส่วนใหญ่จะแสดงออกตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
บางคนก็จะแสดงออกในช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน
การวินิจฉัย
· การซักถามผู้ป่วย
และคนรอบข้าง
· การสังเกตพฤติกรรมตั้งแต่เด็ก
การรักษา
· การมีกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
· ปลูกฝังความคิดที่ดีตั้งแต่ยังเล็ก
· เมื่อลูกมีพฤติกรรมไม่ดีควรอธิบายให้เค้าเข้าใจ
· พ่อและแม่ควรมีพฤติกรรมที่ดีให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่าง
๑๑. LD
: Learning Disability)
สาเหตุของภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้
(LD : Learning Disability)
เด็กแอลดี (LD
: Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้
เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า
แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ
เป็นต้นเด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ
และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว
ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ
เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย
อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น
การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น
จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี
ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้ของภาวะความบพร่องในการเรียนรู้
(LD : Learning
Disability)
เด็กแอลดีอาจแสดงออกมาเป็นความบกพร่องทางการฟัง
การพูด การเขียน การคำนวณ เป็นต้น
ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนทำให้เรียนไม่ได้ตามศักยภาพที่มีอยู่
เด็กพวกนี้ถึงแม้จะเรียนพร้อมกับเด็กคนอื่น แต่ก็เรียนรู้ไม่ได้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดงนี้
1. ด้านการอ่าน (Dislexia)
·
อาจจะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้าง
สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระ อ่านตกหล่น ข้ามคำ
อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย
·
อ่านช้า
ลำบากในการอ่าน จะต้องสะกดคำก่อนจึงจะอ่านได้
·
อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
·
อ่านเดาจากอักษรตัวแรก
เช่น บาท เป็นบทที่, เมื่อนั้น เป็น บัดนั้น
·
อ่านข้าม
อ่านเพิ่ม อ่านสลับคำ เช่น กรน อ่านเป็น นรก,
กลม เป็น กมล
เพราะความสามารถในการรับตัวหนังสือเข้าไปแล้วแปลเป็นตัวอักษรเสียไป
·
ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
·
อ่านแล้วจับใจความสำคัญหรือเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้
·
สำหรับเด็กที่มีความสามารถในการคำนวณ
แต่มีปัญหาในการอ่าน ก็ไม่สามารถทำคะแนนได้ดีเวลาสอบ
เนื่องจากโจทย์ที่ให้ต้องอ่านเพื่อตีความหมาย
2. ด้านการเขียนและการสะกดคำ
(Disgraphia)
·
รู้ว่าจะเขียนอะไร
แต่เขียนไม่ได้ เขียนตก เขียนพยัญชนะสลับกัน บางคนเขียนแบบสลับซ้ายเป็นขวาเหมือน
ส่องกระจก เกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน เขียนกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระวรรณยุกต์ สลับตำแหน่งกัน
(เด็กกลุ่มนี้มักจะเริ่มสังเกตเห็นปัญหาได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน) เช่น ก ไก่
เขียนหันหัวไปทางขวาแทนที่จะเป็นทางซ้าย
·
ลากเส้นวนๆ
ซ้ำๆ ไม่แน่ใจว่าจะเขียนหัวเข้าหรือหัวออก เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น น
เป็น ม, ภ เป็น ถ, ด เป็น ค, b เป็น d,
6 เป็น 9 เป็นต้น
·
เรียงลำดับอักษรผิด
เช่น สถิติ เป็น สติถิ
·
เขียนเรียงลำดับ
ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนทีละตัวได้
·
เขียนไม่ตรงบรรทัด
ขนาดตัวหนังสือเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ไม่มีช่องไฟ
·
จับดินสอแน่นมาก
ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายๆ ครั้ง
·
สะกดคำผิด
เช่น บดบาด (บทบาท) แพด (แพทย์)
3. ด้านการคำนวณ (Discalculia) อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์
ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข ไม่สามารถจับหลักการ บวก ลบ คูณ หารได้
·
เขียนตัวเลขผิด
ไม่เข้าใจเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ค่าของตัวเลขหลักต่างๆ
หรือไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข
·
นับเลขไปข้างหน้าหรือนับย้อนหลังไม่ได้
·
จำสูตรคูณไม่ได้
·
จะคำนวณเลขจากซ้ายไปขวา
แทนที่จะเป็นจากขวาไปซ้าย
·
ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
·
เขียนเลขสลับตำแหน่งกัน
เช่น จาก 12 เป็น 21
·
เอาตัวเลขน้อยลบออกจากตัวเลขมาก
เช่น 35-8 =27 เด็กจะเอา 5 ลบออก 8 เพราะมองว่า
5 เป็นเลขจำนวนน้อย แทนที่จะมองว่า 5 เป็นตัวแทนของ
15
ระยะการดำเนินโรค
·
เป็นมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
การวินิจฉัยทางการแพทย์ของภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้
(LD : Learning
Disability)
ปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้
แพทย์จะซักประวัติโดยละเอียดก่อน
เพื่อตรวจสอบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้นี้เป็นปัญหาที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมส่งผลต่อการเรียนหรือไม่ปัญหาสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเรียน
·
มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน
เป็นผลทำให้ต้องขาดเรียนบ่อย เรียนไม่ทันเพื่อน
·
กินยารักษาโรคบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วง
·
ครอบครัวหย่าร้าง
พ่อแม่ทะเลาะกัน ทำร้ายร่างกาย ตบตี กระทำทารุณ
·
ครูไม่เอาใจใส่เด็ก
·
ถูกเพื่อนแกล้ง
·
หากพบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้
ไม่ได้เกิดจากปัญหาสภาวะแวดล้อมเหล่านี้ ก็จะทำการทดสอบไอคิว ถ้าผลออกมาว่า
การอ่าน การเขียน การฟัง ไม่สัมพันธ์กับไอคิว เด็กอาจจะเป็นโรคแอลดี
และอาจมีปัญหาที่สมองของเด็กจริง
การรักษา
การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว
·
พ่อแม่จะต้องช่วยให้เด็กผ่านช่วงวัยเรียนไปให้ได้
เพราะเมื่อผ่านได้แล้ว เด็กไม่ได้ต้องสอบปัญหาต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปตามวัย
·
สร้างให้ช่วงวัยเรียนของเด็กมีความสุขที่สุด
มีปัญหาน้อยที่สุด ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ คิดว่ตนเองมีคุณค่า นับถือตัวเอง
และภาคภูมิใจในตนเอง
·
พ่อแม่ต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องของ
อีคิว (EQ) มากกว่าผลการเรียนดีเลิของเด็ก
·
พ่อแม่ต้องใจเย็น
ใช้ความอดทนสูง ให้ความรักและเข้าใจเด็ก ไม่ดุด่า ไม่หยิก ไม่ตี
·
พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังมาก
สร้างให้เด็กสามารถมีชีวิตได้เองโดยลำพัง ไม่เป็นภาระของผู้อื่น สามารถอยู่ในสังคมได้
·
ปลอดภัยจากสารพิษ
เล่นเด็กเล่นอยู่ในสถานที่ปลอดภัย ห่างไกลมลพิษ ไม่ให้อยู่ในสถานที่ๆ
มีสารตะกั่วนานเกินไป อย่างริมถนนที่รถพลุกพล่าน ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
·
เวลาทองของครอบครัว
คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเวลาของครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น
การเล่นบทบาทสมมติ การอ่านหนังสือ เล่านิทาน สอนให้เด็กมีทักษะการคิด การคำนวณ
ขีดเขียนวาดภาพ หรือเล่นเกมสังเกตและทายสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
·
งานบ้านฝึกสมอง
ให้เด็กช่วยทำงานบ้านง่ายๆ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ความคิด
และกระตุ้นพัฒนาการของสมองอย่างสม่ำเสมอ ช่วยจัดช้อนส้อม เก็บจานชามเข้าที่
หรือช่วยจัดโต๊ะอาหาร เป็นต้น
·
แพทย์จะประสานกับโรงเรียน
แจ้งผลการตรวจแก่ครู และขอความร่วมมือในการปรับวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสม
·
เรียนในโรงเรียนที่ครูเข้าใจและพร้อมจะช่วยเหลือ
ถือเป็นหัวใจสำคัญ หากครูเข้าใจและให้ความร่วมมือ
เด็กจะรู้สึกดีต่อตัวเองและรู้ตัวว่าสามารถเรียนหนังสือได้
·
พ่อแม่
ผู้ปกครอง และครู จะต้องเข้าใจ พยายามช่วยเหลือเด็ก สร้างให้เด็กมั่นใจในตัวเอง
รวมกลุ่ม และทำงานกับเพื่อนได้
·
การอ่าน
ครูต้องช่วยอ่านโจทย์ให้ฟังเวลาสอบ เด็กจะสามารถเข้าใจและตอบข้อสอบนั้นได้
·
ปรับวิธีการสอน
การอ่านคำ เช่น แทนที่จะสอนให้รู้จักการผสมคำ ต้องสอนให้ใช้วิธีจำเป็นคำๆไป
·
กระตุ้นสมองด้วยจินตนาการ
ด้วยการเล่น โดยเฉพาะการเล่นจากการใช้จินตนาการ ฟังนิทาน ต่อบล็อก และอื่นๆ
ที่จะให้เด็กใช้จินตนาการ หลีกเลี่ยงการให้เด็กเล่นเกม คอมพิวเตอร์
หรือโทรศัพท์มือถือ เพราะจะเป็นการปิดการจินตนาการของเด็ก
๑๒. Asperger’s
disorder
กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์
(Asperger Syndrome) คือ
กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติทางการทำงานของระบบประสาท
ที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคกลุ่มออทิสติค (Autistic spectrum disorders) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม
และพัฒนาการทางด้านการพูด เช่น โรคออติสติค (Autism) และพฤติกรรมแปลกอื่นๆ
ที่มีลักษณะคล้ายออทิสติค
สาเหตุ
ในปัจจุบันยังไม่ทราบว่า
อะไรเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการออทิสติค และกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า น่าจะมีหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด อาจพบร่วมกับโรคทางจิตประสาทอื่นๆ ด้วย เช่น
โรคซึมเศร้า หรือ โรคจิตบางประเภท เนื่องจากเด็กเหล่านี้ อาจมีพฤติกรรมที่แปลกๆ บางครั้งดูหยาบคาย
ไม่เหมาะสม ทำให้เคยมีการเข้าใจผิดว่า
ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องเช่น
การขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว หรือขาดการอบรมสั่งสอนที่ถูกต้องจากพ่อแม่
แต่จากการศึกษาดูครอบครัวของเด็กเหล่านี้กลับพบว่า ส่วนใหญ่ได้รับความรักเอาใจใส่
จากพ่อแม่เป็นอย่างดี และมีการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม
ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่มาจากกเลี้ยงดูที่ผิดของพ่อแม่
แต่เป็นจากปัญหาด้านการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่า
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
อาการและอาการแสดงของกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์
ที่พบในเด็กที่พบได้บ่อย มีดังนี้คือ
1.
การมีปฎิสัมพันธ์โต้ตอบกับคนอื่นๆ
อย่างไม่เหมาะสมกับวัย หรือไม่ชอบที่จะเข้าสังคมกับคนอื่นๆ
2.
เรื่องที่พูดคุย
มักจะเกี่ยวกับเรื่องของตนเอง มากกว่าเรื่องอื่นๆ
3.
มักชอบพูดซ้ำๆ
เรื่องเดิมๆ ด้วยคำพูดเหมือนเดิม
4.
มักจะไม่ค่อยมีปฎิพานไหวพริบ
ในเรื่องธรรมดาทั่วๆไป
5.
มักมีปัญหาในการใช้ทักษะทางด้าน
การอ่าน, คณิตศาสตร์ และการเขียน
6.
มักจะสนใจหมกมุ่นกับเรื่องบางเรื่อง
หรือสิ่งที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน เช่น ลวดลายแพทเทิน, วงจรไฟฟ้า หรือดนตรีคลาสสิค
7.
การพูดและทักษะในการใช้ภาษาพูด
อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือดีกว่าเกณฑ์ กล่าวคือ เด็กจะรู้คำศัพท์ต่างๆได้มาก
และพูดได้ถูกหลักไวยากรณ์ แต่ในแง่ของเนื้อหา
และการสื่อความหมายในเรื่องที่เขาพูดนั้น อาจไม่เหมือนเด็กปกติ
8.
ทักษะทางด้านอื่นๆ
ที่ไม่ได้ใช้ภาษาพูดจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือต่ำกว่าเกณฑ์
9.
มีการเดิน
หรือการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ดูงุ่มง่าม หรือไม่คล่องตัว
10.
มีพฤติกรรมแปลกๆ
หรือดูไม่ค่อยมีมารยาท เมื่อเข้าสังคม
การดำเนินโรค
เป็นมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
การรักษาแอสเพอร์เกอร์
ในปัจจุบันยังไม่มียาใดที่จะใช้รักษาอาการเหล่านี้
ให้หายเป็นปกติ แต่พบว่า เด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
และให้ความรู้ความเข้าใจ และ คำแนะนำแก่พ่อแม่รวมทั้งทางโรงเรียนในการปรับตัว
และปรับพฤติกรรมของเด็ก ก็สามารถช่วยให้เด็กเหล่านี้
อยู่ร่วมในสังคมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตได้ดีพอควร
โดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาพัฒนาการเด็ก ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า
การให้ความช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่พบว่า มีปัญหา
จะมีผลทำให้เด็กสามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมได้ง่ายขึ้น
เพราะยังเป็นช่วงที่สมองของเด็ก ยังมีการพัฒนาได้ค่อนข้างมาก
๑๓.
Alcohol-Related
Disorder
สาเหตุ
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเป็นจากการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ของสารสื่อประสาทต่าง
ๆ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ ระบบแรกทำหน้าที่ยับยั้ง
ซึ่งพบว่ามีการทำงานลดลง โดยมี gamma-amino-butyric acid (GABA) และ alpha -2- adrenergic receptor activity ลดลง
ส่วนระบบที่สองซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นนั้นพบว่ามีการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนที่สำคัญ
คือ มี N-methyl-D-aspartateactivity เพิ่มขึ้นจากการลดลงของ
magnesium ทำให้เกิดภาวะ hyperexcit-ability นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่นติดตามมา เช่นมี catecholamine และ corticotropin หลั่งออกมามาก
ภาวะ
hyperexcitability นี้ยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในระดับ
cell membrane โดยพบว่าในผู้ป่วย โรคพิษสุรา จะมีปริมาณของ calcium
channel เพิ่มขึ้นกว่าเดิม จากการศึกษาพบว่า
calcium channel blocker สามารถลดอาการ withdrawal ได้
ลักษณะอาการสำคัญ คืออาการ delirium
โดยมักเริ่มเป็นตอนเย็นหรือกลางคืน ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน
ประสาทหลอนเห็นคนจะมาทำร้าย เห็นตำรวจจะมาจับ หรืออาจเห็นเป็นสัตว์ต่าง ๆ
รู้สึกว่ามีอะไรมาไต่ตามตัว บางครั้งหูแว่ว เสียงคนพูด เสียงคนข่มขู่
มีท่าทางหวาดกลัว บางครั้งพูดฟังไม่เข้าใจ ร้องตะโกน หรือหลบซ่อนตัว
อาการเป็นตลอดทั้งคืน ช่วงเช้าส่วนใหญ่อาการจะทุเลาลง ตอนบ่ายอาการปกติดี
ซึ่งเป็นการแกว่งไกวของอาการ (fluctuation) ญาติมักจะคิดว่าหายดีแล้ว
แต่พอตกเย็น ผู้ป่วยก็เริ่มกลับมามีอาการอีก
ความรุนแรงและระยะเวลาที่เป็นในแต่ละกลุ่มอาการแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน
พบว่าร้อยละ 75-80 อาการเป็นน้อย ร้อยละ 15-20 มีอาการปานกลาง
และมีเพียงร้อยละ 5-6 เท่านั้นที่อาการรุนแรงจนถึงขั้น
delirium
tremens ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดอาการหลังจากอยู่โรงพยาบาลได้ 3 วัน อาการ delirium นี้เป็นไม่นาน
ส่วนใหญ่จะมีอาการมากอยู่ ประมาณ 3 วันแล้วค่อย ๆ ทุเลาลง
รายที่มีอาการอยู่นานพบว่าเป็นจากปัจจัยเสริมจากภาวะความผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ
ในสมัยก่อน อัตราการตายประมาณร้อยละ 15 ปัจจุบันประมาณร้อยละ
1-2
การวินิจฉัย
การซักประวัติให้ละเอียดและการตรวจร่างกายอย่างครบถ้วน
โดยเฉพาะทางระบบประสาทเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อดูว่า มีโรคทางร่างกายอื่น ๆ
ร่วมด้วยหรือไม่
การรักษา
อาการ
alcohol withdrawal ที่ไม่รุนแรงนั้น
แม้จะไม่ให้การรักษาด้วยยา อาการ ก็ทุเลาลงเองได้ บางการศึกษาพบว่ามีเพียงร้อยละ 8
เท่านั้นที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ยังไม่มีปัจจัยใดที่จะช่วยบ่งว่า ผู้ป่วยรายใด
ที่จะเกิดอาการรุนแรงซึ่งต้องให้ยาป้องกัน ความถี่บ่อยหรือปริมาณของการดื่มสุรา
หรือระดับ enzyme aminotransferase นั้น
ไม่ได้ช่วยในการบอกถึงความรุนแรงของอาการ ที่พอทราบ คือ ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติ
ของ delirium tremens จะมีโอกาสเกิดได้อีกในการหยุดสุราครั้งต่อไป
๑๔.
Panic Disorder
โรคแพนิค หรือ panic disorder จัดเป็นภาวะทางจิตเวชที่พบได้บ่อยเป็นลำดับต้นๆ
สาเหตุ
โรคแพนิคเป็นผลจากทั้งปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยปัจจัยทางด้านร่างกายพบว่า เกิดจากความผิดปกติของระดับสารสื่อประสาท ได้แก่ norepinephrine และ serotonin ในระบบประสาท รวมทั้งพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของพันธุกรรม ส่วนสาเหตุทางด้านจิตใจมักพบว่า สัมพันธ์กับเรื่องของความวิตกกังวล (anxiety) โดยเฉพาะความวิตกกังวลจากการแยกจากคนสำคัญ (separation anxiety) โดยผู้ป่วยแต่ละรายก็จะให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยแตกต่างกันไป เช่น บางรายอาจจะไม่มีความกังวลใดๆ เลย แต่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นหลายคน ก็อาจจะมีอาการได้ เป็นต้น
ลักษณะอาการ
ลักษณะอาการของโรคแพนิคคือ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก รู้สึกหายใจขัด เวียนหัว (หรือรู้สึกว่าหัวเบาๆ) ถ้าอาการมากๆ จะมีเหงื่อแตก มือเย็นเท้าเย็น (หรือชา) ด้วย โดยอาการจะเป็นขึ้นมาแบบทันทีทันใด ชนิดอยู่ดีๆ ก็เป็นขึ้นมา และจะเป็นมากอยู่ประมาณ 10-15 นาที จากนั้นก็จะค่อยๆ ดีขึ้น และมักจะหายไปในเวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง ด้วยอาการที่จะเป็นแบบทันทีและรุนแรงนี่เอง ทำให้ผู้ป่วยหลายๆ คนตกใจกลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ หรือเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ หรือกลัวว่าจะตายได้
โดยผู้ป่วยจะมีอาการแบบนี้ซ้ำๆ กันหลายครั้ง บางคนอาจเป็น 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนบางคนที่เป็นมากอาจจะเป็นวันละหลายๆ ครั้ง ซึ่งผลจากการที่มีอาการแบบนี้บ่อยๆ จึงทำให้มีผู้ป่วยหลายคนเกิดความกังวลตามมา
โรคแพนิคเป็นผลจากทั้งปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยปัจจัยทางด้านร่างกายพบว่า เกิดจากความผิดปกติของระดับสารสื่อประสาท ได้แก่ norepinephrine และ serotonin ในระบบประสาท รวมทั้งพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของพันธุกรรม ส่วนสาเหตุทางด้านจิตใจมักพบว่า สัมพันธ์กับเรื่องของความวิตกกังวล (anxiety) โดยเฉพาะความวิตกกังวลจากการแยกจากคนสำคัญ (separation anxiety) โดยผู้ป่วยแต่ละรายก็จะให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยแตกต่างกันไป เช่น บางรายอาจจะไม่มีความกังวลใดๆ เลย แต่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นหลายคน ก็อาจจะมีอาการได้ เป็นต้น
ลักษณะอาการ
ลักษณะอาการของโรคแพนิคคือ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก รู้สึกหายใจขัด เวียนหัว (หรือรู้สึกว่าหัวเบาๆ) ถ้าอาการมากๆ จะมีเหงื่อแตก มือเย็นเท้าเย็น (หรือชา) ด้วย โดยอาการจะเป็นขึ้นมาแบบทันทีทันใด ชนิดอยู่ดีๆ ก็เป็นขึ้นมา และจะเป็นมากอยู่ประมาณ 10-15 นาที จากนั้นก็จะค่อยๆ ดีขึ้น และมักจะหายไปในเวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง ด้วยอาการที่จะเป็นแบบทันทีและรุนแรงนี่เอง ทำให้ผู้ป่วยหลายๆ คนตกใจกลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ หรือเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ หรือกลัวว่าจะตายได้
โดยผู้ป่วยจะมีอาการแบบนี้ซ้ำๆ กันหลายครั้ง บางคนอาจเป็น 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนบางคนที่เป็นมากอาจจะเป็นวันละหลายๆ ครั้ง ซึ่งผลจากการที่มีอาการแบบนี้บ่อยๆ จึงทำให้มีผู้ป่วยหลายคนเกิดความกังวลตามมา
การรักษา
เวลาที่มีอาการ
เวลาที่มีอาการแพนิค (อาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจขัด และอื่นๆ นั่นแหละครับ) สิ่งแรกที่ควรทำคือนั่งพัก จากนั้นให้หายใจเข้าออกช้าๆ เหมือนเวลานั่งสมาธิ เพราะว่าหากยิ่งหายใจเร็ว (หายใจสั้น แต่ถี่) จะยิ่งทำให้อาการที่เป็นรุนแรงมากขึ้น โดยทั่วไปถ้าสามารถควบคุมการหายใจได้ (หายใจเข้าออกช้าๆ ยาวๆ) ไม่เกิน 15-20 นาที อาการก็มักจะดีขึ้นเอง ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจะให้ยาสำหรับรับประทานเวลาที่มีอาการมาด้วย ก็สามารถกินยาไปด้วยได้
เวลาที่มีอาการ
เวลาที่มีอาการแพนิค (อาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจขัด และอื่นๆ นั่นแหละครับ) สิ่งแรกที่ควรทำคือนั่งพัก จากนั้นให้หายใจเข้าออกช้าๆ เหมือนเวลานั่งสมาธิ เพราะว่าหากยิ่งหายใจเร็ว (หายใจสั้น แต่ถี่) จะยิ่งทำให้อาการที่เป็นรุนแรงมากขึ้น โดยทั่วไปถ้าสามารถควบคุมการหายใจได้ (หายใจเข้าออกช้าๆ ยาวๆ) ไม่เกิน 15-20 นาที อาการก็มักจะดีขึ้นเอง ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจะให้ยาสำหรับรับประทานเวลาที่มีอาการมาด้วย ก็สามารถกินยาไปด้วยได้
การรักษาโดยการใช้ยา
โดยทั่วไปแล้วยาที่แพทย์ให้จะมี 2 กลุ่มหลักๆ คือ
* ยาเพื่อลดอาการ
ยากลุ่มนี้จะรับประทานเพื่อลดอาการขณะที่เป็น โดยมากแพทย์มักจะให้มารับประทานในช่วงระยะแรกๆ ที่มารับการรักษา เนื่องจากยาที่ป้องกันไม่ให้เป็น (ยาข้อถัดไป) ยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ แต่ยาเพื่อลดอาการจะเป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว จึงให้รับประทานในเวลาที่มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจขัด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ และทำให้อาการหายไป (หรือพูดง่ายๆ คือยาในกลุ่มนี้ให้รับประทานเฉพาะเวลามีอาการ ถ้าไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรับประทาน) ยาที่นิยมใช้ในกลุ่มนี้ได้แก่ Alprazolam และ Clonazepam
โดยทั่วไปแล้วยาที่แพทย์ให้จะมี 2 กลุ่มหลักๆ คือ
* ยาเพื่อลดอาการ
ยากลุ่มนี้จะรับประทานเพื่อลดอาการขณะที่เป็น โดยมากแพทย์มักจะให้มารับประทานในช่วงระยะแรกๆ ที่มารับการรักษา เนื่องจากยาที่ป้องกันไม่ให้เป็น (ยาข้อถัดไป) ยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ แต่ยาเพื่อลดอาการจะเป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว จึงให้รับประทานในเวลาที่มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจขัด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ และทำให้อาการหายไป (หรือพูดง่ายๆ คือยาในกลุ่มนี้ให้รับประทานเฉพาะเวลามีอาการ ถ้าไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรับประทาน) ยาที่นิยมใช้ในกลุ่มนี้ได้แก่ Alprazolam และ Clonazepam
* ยาเพื่อป้องกันและรักษา
ยาในกลุ่มนี้ถือเป็นยาตัวหลักที่ใช้ในการรักษา ยาจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็น ทำให้ความถี่ในการเกิดอาการแพนิคเป็นน้อยลง และอาการไม่รุนแรงมาก จนค่อยๆ หายไป รวมทั้งช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แต่ยาในกลุ่มนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ถึงจะเริ่มเห็นผล ดังนั้นในอาทิตย์แรกๆ จะยังไม่เห็นผลชัดเจนนัก แพทย์จึงมักให้รับประทานยาเพื่อลดอาการไปด้วย
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยารักษาซึมเศร้า (antidepressant) ซึ่งมีหลายตัว เช่น fluoxetine หรือ sertraline เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้ว ยาเพื่อป้องกันนี้แนะนำให้รับประทานอย่างน้อย 8 เดือน แม้ว่าเมื่อรักษาไปสักเดือนสองเดือนผู้ป่วยอาจจะไม่ค่อยมีอาการแล้วก็ตาม แต่ควรรับประทานยาต่อให้ครบ เพราะจากการศึกษาพบว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยหยุดยาเร็ว มักมีอาการกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อย
ยาในกลุ่มนี้ถือเป็นยาตัวหลักที่ใช้ในการรักษา ยาจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็น ทำให้ความถี่ในการเกิดอาการแพนิคเป็นน้อยลง และอาการไม่รุนแรงมาก จนค่อยๆ หายไป รวมทั้งช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แต่ยาในกลุ่มนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ถึงจะเริ่มเห็นผล ดังนั้นในอาทิตย์แรกๆ จะยังไม่เห็นผลชัดเจนนัก แพทย์จึงมักให้รับประทานยาเพื่อลดอาการไปด้วย
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยารักษาซึมเศร้า (antidepressant) ซึ่งมีหลายตัว เช่น fluoxetine หรือ sertraline เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้ว ยาเพื่อป้องกันนี้แนะนำให้รับประทานอย่างน้อย 8 เดือน แม้ว่าเมื่อรักษาไปสักเดือนสองเดือนผู้ป่วยอาจจะไม่ค่อยมีอาการแล้วก็ตาม แต่ควรรับประทานยาต่อให้ครบ เพราะจากการศึกษาพบว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยหยุดยาเร็ว มักมีอาการกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อย
๑๕.
Argorphobia
คือ โรคกลัวที่ชุมชน
หรือกลัวที่โล่ง ที่เกิดอาการแล้วจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ หรือหนีไปไหนไม่ได้
กลุ่มโรค
-เป็นโรคเกี่ยวกับ phobia อยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวล แล้วยังอยู่ร่วมในกลุ่มโรคแพนิกด้วย
-Agoraphobia เป็น phobia แบบ cluster
phobia ไม่ใช่ specific phobia
เป็นกลัวสถานการณ์ได้หลายๆแบบ กลัวที่โล่งกว้าง หรือที่แคบๆ
กลัวที่สูง ที่ไม่คุ้นเคย ไกลจากบ้าน แบบกลัวไม่กล้าไปไหนๆ
สาเหตุและกลไกของการเกิดอาการ
๑.
ปัจจัยทางจิตวิทยา เชื่อว่าคนที่ป่วยด้วยโรคนี้มีบุคลิกภาพคล้ายแบบ anankastic
แต่รุนแรงน้อยกว่า เมื่อมี เหตุการณ์หรือสิ่งใดที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล
ความกังวลจะแยกจากสิ่งที่เป็นต้นเหตุไปอยู่ที่วัตถุ กิจกรรม
หรือเหตุการณ์ที่เป็นสัญญลักษณ์กับสิ่งที่เป็นต้นเหตุของความวิตกกังวลแต่แรกแทน
เช่น มีความวิตกกังวลต่อบิดา
ความกังวลจะแยกจากบิดาไปอยู่ที่วัตถุหรือบุคคลที่เป็นสัญญลักษณ์ของบิดา เช่น
ศาลพระภูมิ พระพุทธรูป หรือพระสงฆ์แทน เป็นต้น
เรียกความผิดปกตินี้ว่าโรคประสาทแบบหวาดกลัว (Mathis และคณะ
ค.ศ. ๑๙๗๒)
๒.
ปัจจัยทางการเรียนรู้ตามหลักพฤติกรรมศาสตร์
ความกลัวอาจเกิดจากการถูกจัดเป็นเงื่อนไขระหว่างสิ่งเร้าอย่างหนึ่งกับอารมณ์กลัว
เช่น เด็กคนหนึ่งกลัวสุนัขเพราะสุนัขทำให้เขาตกใจกลัวหลายครั้ง
อาการที่เกิด
อาการ panic หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว กลัวกังวล
มือเท้าเย็น หมดแรง อ่อนปวกเปียก ท้องไส้ปั่นป่วน
อาการ : วิงเวียงตาลายมาก พบมากโดยเฉพาะในกลุ่ม agoraphobia, social phobia,
blood-injury phobia, space phobia
การดำเนินโรค
พบในวัยรุ่นตอนปลาย
มักเรื้อรัง อาจเกิดpanic บ่อยทำให้กังวลและกลัว(panic +agoraphobia)
หากเป็น agoraphobia อย่างเดียว มักเป็นเรื้อรัง อาจมี depressive
disorder, alcohol dependence ร่วมด้วย
กรณีที่มี panic ร่วมด้วยหาก panic หาย agoraphobia มักหายด้วย
การวินิจฉัย
1.มีความวิตกกังวล กลัวการอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่
หลีกเลี่ยงได้ลำบาก หรือทำให้อับอาย หรืออาจไม่ได้รับความช่วยเหลือ
สิ่งเร้าได้แก่ กลัวการออกนอกบ้านตามลำพัง
กลัวการเดินทางแม้ระยะทางสั้นๆ การอยู่ท่ามกลางหมู่คน การยืนต่อแถว การอยู่บนสะพาน
การเดินทางโดยรถเมล์ รถยนต์ รถไฟ เป็นต้น
2.พยายามหลีกเลี่ยง
สถานการณ์นั้นๆ หรือ เผชิญแต่มีความทุกข์ทรมานใจหรือวิตกกังวลกลัวเกิด panic
3.อาการที่เกิด ไม่ใช่กลัวหรือเผชิญเหตุการณ์เฉพาะอย่างไดอย่างหนึ่ง คือ ไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชแบบเฉพาะอื่นๆ เช่น Social
phobia, specific phobia, obsessive compulsive disorder, posttraumatic stress
disorder, separation anxiety disorder
การรักษา
ได้ผลดี ด้วยยาและ cognitive behavioral therapy
1. ยาแก้ซึมเศร้า นิยมให้เป็นยาขนานแรก
SSRI: Fluoxetine เริ่มที่ 10
mg/day เพิ่มได้ถึง 20-40 mg/day od เช้า
TCA:imipramine เริ่มที่ 25 mg/day
1 สัปดาห์ เพิ่ม 25 mg q สัปดาห์ จนคุมได้ปกติใช้
50-75 mg
2.การเริ่มใช้ยามักให้ antidepressant ร่วมกับ benzodiazepine ตั้งแต่แรกถึง 4-6 สัปดาห์
รอคุมอาการได้ดี และยา antidepressant ออกฤทธิ์เต็มที่ค่อยๆ benzodiazepine
การให้ยาต่อ อีกอย่างน้อย 12 เดือน แล้วค่อยๆลดยาลง 2-6 เดือน
หากไม่มีอาการให้หยุดยาได้
3.การรักษาอื่น
พฤติกรรมบำบัด ลองอยู่ในที่กลัวในสถานที่ทดลอง exposure in vivo
ฝึกการผ่อนคลายเมื่อเกิด hyperventilation
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น