แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ
แนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ซักมัน ฟรอยด์
ฟรอยด์ (Freud, 1856-1939) เป็นชาวออสเตรีย
เป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของ พัฒนาการในวัยเด็ก ถือว่าเป็นรากฐานของ
พัฒนาการของบุคลิกภาพ ฟรอยด์เชื่อว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่ ที่แตกต่างกัน
ก็เนื่องจากประสบการณ์ของแต่ละคน เมื่อเวลาอยู่ในวัยเด็ก
และขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคน แก้ปัญหาของความขัดแย้งของแต่ละวัยอย่างไร
ทฤษฎีของฟรอยด์มีอิทธิพลทางการ รักษาคนไข้โรคจิต วิธีการนี้เรียกว่า จิตวิเคราะห์
(Psychoanalysis) โดยให้คนไข้ระบายปัญหาให้จิตแพทย์ฟัง
ทฤษฎีของฟรอยด์อาจจะกล่าวหลักโดยย่อดังต่อไปนี้
ทฤษฎีของฟรอยด์อาจจะกล่าวหลักโดยย่อดังต่อไปนี้
ฟรอยด์ได้แบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3
ระดับ คือ
1.
จิตสำนึก (Conscious)
2.
จิตก่อนสำนึก (Pre-conscious)
3.
จิตไร้สำนึก (Unconscious)
เนื่องจากระดับจิตสำนึก เป็นระดับที่ผู้แสดงพฤติกรรมทราบ
และรู้ตัว ส่วนระดับ จิตก่อนสำนึก เป็นสิ่งที่จะดึงขึ้นมา อยู่ในระดับจิตสำนึก
ได้ง่าย ถ้าหากมีความจำเป็นหรือต้องการ
ระดับจิตไร้สำนึกเป็นระดับที่อยู่ในส่วนลึกภายในจิตใจ ฟรอยด์เป็นคนแรก
ที่ได้ให้ความคิดเกี่ยวกับแรงผลักดันไร้สำนึก หรือแรงจูงใจไร้สำนึก ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของพฤติกรรม
และมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของมนุษย์ ฟรอยด์กล่าวว่า
มนุษย์เรามีสัญชาติญาณติดตัวมาแต่กำเนิด และได้แบ่งสัญชาติญาณออกเป็น 2
ชนิดคือ
1) สัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิต (Life
instinct)
2) สัญชาติญาณเพื่อความตาย (Death instinct)
2) สัญชาติญาณเพื่อความตาย (Death instinct)
สัญชาตญาณบางอย่าง จะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก
ฟรอยด์ได้อธิบายเกี่ยวกับสัญชาตญาณ เพื่อการดำรงชีวิตไว้อย่างละเอียด
ได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์เรามีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิด เรียกพลังงานนี้ว่า
"Libido" เป็นพลังงานที่ทำให้คนเราอยากมีชีวิตอยู่
อยากสร้างสรรค์ และอยากจะมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศ หรือกามารมณ์ (Sex) เพื่อจุดเป้าหมาย คือความสุขและความพึงพอใจ (Pleasure) โดยมีส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก และได้เรียกส่วนนี้ว่า
อีโรจีเนียสโซน ฟรอยด์ยังกล่าวอีกว่าความพึงพอใจในส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้
เป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ
1. ขั้นปาก (Oral Stage)
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage)
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
4. ขั้นแฝง (Latence Stage)
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)
1. ขั้นปาก (Oral Stage)
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage)
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
4. ขั้นแฝง (Latence Stage)
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)
1) ขั้นปาก
(0-18 เดือน) ฟรอยด์เรียกขั้นนี้ว่า เป็นขั้นออรอล
เพราะความพึงพอใจอยู่ที่ช่องปาก เริ่มตั้งแต่เกิด เด็กอ่อนจนถึงอายุราวๆ 2 ปี หรือวัยทารก เป็นวัยที่ความพึงพอใจ เกิดจากการดูดนมแม่ นมขวด
และดูดนิ้ว เป็นต้น ในวัยนี้ความคับข้องใจ จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า
"การติดตรึงอยู่กับที่" (Fixation) ได้และมีปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ
เรียกว่า "Oral Personality" มีลักษณะที่ชอบพูดมาก
และมักจะติดบุหรี่ เหล้า และชอบดูด หรือกัดอยู่เสมอ โดยเฉพาะเวลาที่มีความเครียด
บางครั้งจะแสดงด้วยการดูดนิ้ว หรือดินสอ ปากกามีลักษณะแบบนี้อาจจะชอบพูดจาถากถาง
เหน็บแนม เสียดสีผู้อื่น
2) ขั้นทวารหนัก
(18 เดือน – 3 ปี) ฟรอยด์กล่าวว่า
เด็กวัยนี้ได้รับความพึงพอใจทางทวารหนัก คือ จากการขับถ่ายอุจจาระ
และในระยะซึ่งเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง และความคับข้องใจของเด็กวัยนี้
เพราะพ่อแม่มักจะหัดให้เด็กใช้กระโถน และต้องขับถ่ายเป็นเวลา
เนื่องจากเจ้าของความต้องการของผู้ฝึก และความต้องการของเด็ก
เกี่ยวกับการขับถ่ายไม่ตรงกันของเด็ก คือความอยากที่จะถ่ายเมื่อไรก็ควรจะทำได้
เด็กอยากจะขับถ่ายเวลาที่มีความต้องการ ผู้ที่มีพฤติกรรมแบบนี้
อาจจะเป็นคนที่ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นพิเศษ และค่อนข้างประหยัด มัธยัสถ์
หรืออาจมีบุคลิกภาพตรงข้าม คืออาจจะเป็นคนที่ใจกว้าง และไม่มีความเป็นระเบียบ
เห็นได้จากห้องทำงานส่วนตัวจะรกไม่เป็นระเบียบ
3) ขั้นอวัยวะเพศ
(3-5 ปี) ความพึงพอใจของเด็กวัยนี้อยู่อวัยวะสืบพันธุ์
เด็กมักจะจับต้องลูกคลำอวัยวะเพศ ระยะนี้ ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กผู้ชายมีปมเอ็ดดิปุส
(Oedipus Complex) ฟรอยด์อธิบายการเกิดของปมเอ็ดดิปุสว่า
เด็กผู้ชายติดแม่และรักแม่มาก และต้องการที่จะเป็นเจ้าของแม่แต่เพียงคนเดียว
และต้องการร่วมรักกับแม่ แต่ขณะเดียวกันก็ทราบว่าแม่และพ่อรักกัน
และก็รู้ดีว่าตนด้อยกว่าพ่อทุกอย่าง ทั้งด้านกำลังและอำนาจ ประกอบกับความรักพ่อ
และกลัวพ่อ ฉะนั้นเด็กก็พยายามที่จะเก็บกดความรู้สึก
ที่อยากเป็นเจ้าของแม่แต่คนเดียว และพยายามทำตัวให้เหมือนกับพ่อทุกอย่าง
ฟรอยด์เรียกกระบวนนี้ว่า "Resolution of Oedipal Complex" เป็นกระบวนการที่เด็กชายเลียนแบบพ่อ ทำตัวให้เหมือน "ผู้ชาย"
ส่วนเด็กหญิงมีปมอีเล็คตรา (Electra Complex) ซึ่งฟรอยด์ก็ได้ความคิดมาจากนิยายกรีก
เหมือนกับปมเอ็ดดิปุส ฟรอยด์อธิบายว่า แรกทีเดียวเด็กหญิงก็รักแม่มากเหมือนเด็กชาย
แต่เมื่อโตขึ้นพบว่าตนเองไม่มีอวัยวะเพศเหมือนเด็กชาย
และมีความรู้สึกอิจฉาผู้ที่มีอวัยวะเพศชาย แต่เมื่อทำอะไรไม่ได้ก็ยอมรับ และโกรธแม่มาก
ถอนความรักจากแม่มารักพ่อ ที่มีอวัยวะเพศที่ตนปรารถนาจะมี
แต่ก็รู้ว่าแม่และพ่อรักกัน เด็กหญิงจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้กลไกป้องกันตน
โดยเก็บความรู้สึกความต้องการของตน (Represtion) และเปลี่ยนจากการโกรธเกลียดแม่
มาเป็นรักแม่ (Reaction Formation) ขณะเดียวกันก็อยากทำตัวให้เหมือนแม่
จึงเลียนแบบ สรุปได้ว่าเด็กหญิงมีความรักพ่อ แต่ก็รู้ว่าแย่งพ่อมาจากแม่ไม่ได้
จึงเลียนแบบแม่ คือ ถือแม่เป็นแบบฉบับ หรือต้นแบบของพฤติกรรมของ
"ผู้หญิง"
4) ขั้นแฝง
(Latency Stage) เด็กวัยนี้อยู่ระหว่างอายุ 6-12
ปี เป็นระยะที่ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กเก็บกดความต้องการทางเพศ
หรือความต้องการทางเพศสงบลง (Quiescence Period) เด็กชายมักเล่น
หรือจับกลุ่มกับเด็กชาย ส่วนเด็กหญิง ก็จะเล่น หรือจับกลุ่มกับเด็กหญิง
5) ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital
Stage) วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป
จะมีความต้องการทางเพศ วัยนี้จะมีความสนใจในเพศตรงข้าม
ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่
ฟรอยด์กล่าวว่า ถ้าเด็กโชคดี และผ่านวัยแต่ละวัย
โดยไม่มีปัญหาก็จะเจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพปกติ แต่ถ้าเด็กมีปัญหา
ในแต่ละขั้นของพัฒนาการ ก็จะมีบุคลิกภาพผิดปกติ ถ้า Fixation
เกิดในระยะที่ 2 ของชีวิต คือ อายุราวๆ 2-3
ปี จะทำให้บุคคลนั้น มีบุคลิกภาพแบบ Anal Personality ซึ่งอาจจะมีลักษณะต่างๆ ดังนี้
(1) เป็นคนเจ้าสะอาดมากเกินไป
(2) อาจจะมีลักษณะตรงข้ามเลย คือ รุงรัง ไม่เป็นระเบียบ
(3) อาจจะเป็นคนสุรุ่ยสุร่าย หรือตระหนี่ก็ได้ ผู้ชายที่แต่งงานก็คิดว่า ตนเป็นเจ้าของ "ผู้หญิง" ที่เป็นภรรยาเก็บไว้แต่ในบ้าน หึงหวงจนทำให้ภรรยาไม่มีความสุข
(1) เป็นคนเจ้าสะอาดมากเกินไป
(2) อาจจะมีลักษณะตรงข้ามเลย คือ รุงรัง ไม่เป็นระเบียบ
(3) อาจจะเป็นคนสุรุ่ยสุร่าย หรือตระหนี่ก็ได้ ผู้ชายที่แต่งงานก็คิดว่า ตนเป็นเจ้าของ "ผู้หญิง" ที่เป็นภรรยาเก็บไว้แต่ในบ้าน หึงหวงจนทำให้ภรรยาไม่มีความสุข
บุคลิกภาพ : Id Ego และ Superego
Id เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด
แต่เป็นส่วนที่จิตไร้สำนึก มีหลักการที่จะสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น
เอาแต่ได้อย่างเดียว และจุดเป้าหมายก็คือ หลักความพึงพอใจ
Ego เป็นส่วนของบุคลิกภาพ
ที่พัฒนามาจากการที่ทารกได้ติดต่อ หรือมีปฎิสัมพันธ์กับโลก ภายนอก
บุคคลที่มีบุคลิกภาพปกติ คือ บุคคลที่ Ego สามารถที่ปรับตัวให้เกิดสมดุลระหว่างความต้องการของ
Id โลกภายนอก และ Superego หลักการที่ Ego
ใช้คือหลักแห่งความเป็นจริง
Superego แบ่งเป็น 2 อย่างคือ
1. "Conscience" ซึ่งคอยบอกให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
2. "Ego ideal" ซึ่งสนับสนุนให้มีความประพฤติดี
ฟรอยด์ถือว่าความต้องการทางเพศเป็นแรงขับ และไม่จำเป็นจะอยู่ในระดับจิตสำนึกเสมอไป แต่จะอาจอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious) และมีพลังงานมาก ซึ่งปัจจุบันนี้นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ยอมรับความคิดของฟรอยด์เกี่ยวกับ Unconscious motivation แม้ว่าจะไม่รับหลักการของฟรอยด์ทั้งหมด
ฟรอยด์กล่าวว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะขั้นวัยทารก วัยเด็ก และวัยรุ่น ระบบทั้ง 3 ของบุคลิกภาพ คือ Id, Ego และ Superego จะทำงานประสานกันดีขึ้น เนื่องจากเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือโลกภายนอกมากขึ้น ยิ่งโตขึ้น Ego ก็ยิ่งแข็งแกร่งขึ้น และสามารถที่จะควบคุม Id ได้มากขึ้น ฟรอยด์เชื่อว่า ความคับข้องใจ เป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ แต่ต้องมีจำนวนพอเหมาะที่จะช่วยพัฒนา Ego แต่ถ้ามีความคับข้องใจมากเกินไป ก็จะเกิดปัญหา และทำให้เกิดกลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ซึ่งเป็นวิธีการปรับตัวในระดับจิตไร้สำนึก
กลไกในการป้องกันตัวมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของบุคคลปกติทุกวัย ตั้งแต่อนุบาลจนถึงวัยชรา กลไกในการป้องกันตัว เป็นวิธีการที่บุคคลใช้ในการปรับตัว เมื่อประสบปัญหาความคับข้องใจ การใช้กลไกป้องกันจะช่วยยืดเวลาในการแก้ปัญหา เพราะจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ความไม่สบายใจ ทำให้คิดหาเหตุผล หรือแก้ไขปัญหาได้
1. "Conscience" ซึ่งคอยบอกให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
2. "Ego ideal" ซึ่งสนับสนุนให้มีความประพฤติดี
ฟรอยด์ถือว่าความต้องการทางเพศเป็นแรงขับ และไม่จำเป็นจะอยู่ในระดับจิตสำนึกเสมอไป แต่จะอาจอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious) และมีพลังงานมาก ซึ่งปัจจุบันนี้นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ยอมรับความคิดของฟรอยด์เกี่ยวกับ Unconscious motivation แม้ว่าจะไม่รับหลักการของฟรอยด์ทั้งหมด
ฟรอยด์กล่าวว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะขั้นวัยทารก วัยเด็ก และวัยรุ่น ระบบทั้ง 3 ของบุคลิกภาพ คือ Id, Ego และ Superego จะทำงานประสานกันดีขึ้น เนื่องจากเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือโลกภายนอกมากขึ้น ยิ่งโตขึ้น Ego ก็ยิ่งแข็งแกร่งขึ้น และสามารถที่จะควบคุม Id ได้มากขึ้น ฟรอยด์เชื่อว่า ความคับข้องใจ เป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ แต่ต้องมีจำนวนพอเหมาะที่จะช่วยพัฒนา Ego แต่ถ้ามีความคับข้องใจมากเกินไป ก็จะเกิดปัญหา และทำให้เกิดกลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ซึ่งเป็นวิธีการปรับตัวในระดับจิตไร้สำนึก
กลไกในการป้องกันตัวมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของบุคคลปกติทุกวัย ตั้งแต่อนุบาลจนถึงวัยชรา กลไกในการป้องกันตัว เป็นวิธีการที่บุคคลใช้ในการปรับตัว เมื่อประสบปัญหาความคับข้องใจ การใช้กลไกป้องกันจะช่วยยืดเวลาในการแก้ปัญหา เพราะจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ความไม่สบายใจ ทำให้คิดหาเหตุผล หรือแก้ไขปัญหาได้
สรุปแล้วทฤษฎีของฟรอยด์
เป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลมากทั้งทางตรง และทางอ้อม ผู้ที่มีความเชื่อ
และเลื่อมใสในทฤษฎีของฟรอยด์ ก็ได้นำหลักการต่างๆ
ไปใช้ในการรักษาคนที่มีปัญหาทางบุคลิกภาพ ซึ่งได้ช่วยคนมากว่ากึ่งศตวรรษ
ส่วนนักจิตวิทยาที่ไม่ใช้หลักจิตวิเคราะห์ ก็ได้นำความคิดของฟรอยด์
ไปทำงานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ จึงนับว่าฟรอยด์เป็นนักจิตวิทยา
ผู้มีอิทธิพลมากต่อพัฒนาการของวิชาจิตวิทยา
2. แนวความคิดตามทฤษฎีของอีริคสัน
อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่
เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต ประเทศเยอรมัน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคม และความเป็นอยู่ของเด็ก พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 8 ขั้นตอนของอิริคสัน
1. ความไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจ (Trust VS. Mistrust) (ในช่วง0 -1 ปี) ถ้าเด็กได้รับความรักใคร่ที่เหมาะสม ทำให้เขารู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัย น่าอยู่และไว้วางใจได้ แต่ถ้าตรงกับข้ามเด็กก็จะรู้สึกว่าโลกนี้เต็มไปด้วยอันตรายไม่มีความปลอดภัย มีแต่ความหวาดระแวง
2. ความเป็นตัวของตัวเองกับความคลางแคลงใจ (Autonomy VS. Doubt)(ในช่วง2 – 3 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญและอยากเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรืออำนาจที่มีอยู่ พ่อแม่จึงควรระวังในเรื่องความสมดุลในการเลี้ยงดู ควรให้โอกาสและกำลังใจต่อเด็ก เด็กจะพัฒนาความเป็นตัวเอง มีความมั่นใจ รู้จักอิสระที่จะควบคุมตนเอง
อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่
เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต ประเทศเยอรมัน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคม และความเป็นอยู่ของเด็ก พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 8 ขั้นตอนของอิริคสัน
1. ความไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจ (Trust VS. Mistrust) (ในช่วง0 -1 ปี) ถ้าเด็กได้รับความรักใคร่ที่เหมาะสม ทำให้เขารู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัย น่าอยู่และไว้วางใจได้ แต่ถ้าตรงกับข้ามเด็กก็จะรู้สึกว่าโลกนี้เต็มไปด้วยอันตรายไม่มีความปลอดภัย มีแต่ความหวาดระแวง
2. ความเป็นตัวของตัวเองกับความคลางแคลงใจ (Autonomy VS. Doubt)(ในช่วง2 – 3 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญและอยากเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรืออำนาจที่มีอยู่ พ่อแม่จึงควรระวังในเรื่องความสมดุลในการเลี้ยงดู ควรให้โอกาสและกำลังใจต่อเด็ก เด็กจะพัฒนาความเป็นตัวเอง มีความมั่นใจ รู้จักอิสระที่จะควบคุมตนเอง
3. ความริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative VS. Guilt) (ในช่วง4 – 5 ปี) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดถึงการใช้ภาษาจะช่วยให้เด็กเกิดแง่คิดในการวางแผนและการริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ
ก็จะเป็นการส่งเสริมทำให้เขารู้สึกต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไปเด็กก็จะมีความคิดริเริ่ม
4. ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำต้อย
(Industry VS. Inferiority) (ในช่วง6 – 12 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าเรียนและต้องการเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น
มีพัฒนาการทางด้านความขยันขันแข็ง โดยพยายามคิดทำ คิดผลิตสิ่งต่างๆ
ให้เหมือนผู้ใหญ่ด้วยการทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจ
ถ้าเขาได้รับคำชมเชยก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกำลังใจ
5. ความเป็นเอกลักลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (Identity VS. Role Confusion) (ในช่วง12 – 17 ปี)
เป็นช่วงที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่น และเริ่มพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเองว่าตนคือใคร
ถ้าเขาค้นหาตนเองได้ เขาจะแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม
แต่ถ้าตรงกันข้ามเขาค้นหาเอกลักษณ์ของตนไม่พบเขาจะเกิดความสับสนและแสดงบทบาทที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับตนเอง
6. ความผูกพันกับการแยกตัว (Intimacy VS. Isolation) (ในช่วง18- 34 ปี) เป็นขั้นของการพัฒนาทางด้านความรัก ความผูกพัน เมื่อบุคคลสามารถค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้แล้ว ก็เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่รู้ใจ สามารถปรับทุกข์ซึ่งกันและกันได้ ตลอดถึงแสดงความยินดี และเสียสละให้แก่กัน แต่ถ้าพัฒนาการในช่วงนี้ล้มเหลวไม่สามารถสร้างความรู้สึกเช่นนี้ได้
6. ความผูกพันกับการแยกตัว (Intimacy VS. Isolation) (ในช่วง18- 34 ปี) เป็นขั้นของการพัฒนาทางด้านความรัก ความผูกพัน เมื่อบุคคลสามารถค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้แล้ว ก็เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่รู้ใจ สามารถปรับทุกข์ซึ่งกันและกันได้ ตลอดถึงแสดงความยินดี และเสียสละให้แก่กัน แต่ถ้าพัฒนาการในช่วงนี้ล้มเหลวไม่สามารถสร้างความรู้สึกเช่นนี้ได้
7. การทำประโยชน์ให้สังคมกับการคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity
VS. Self Absorption) (ในช่วง35 – 60 ปี) เป็นช่วงของวัยกลางคน
ซึ่งมีความพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้สังคมได้เต็มที่
ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมาดำเนินไปด้วยดี
มีการดูแลรับผิดชอบเอาใจใส่ต่อบุตรหลานให้มีความสุข
มีการอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นคนดีต่อไปในอนาคต
แต่ถ้าตรงกันข้ามก็จะไม่ประสบความสำเร็จ เขาจะเกิดความรู้สึกท้อถอย
เบื่อหน่ายชีวิต คิดถึงแต่ตนเองไม่รับผิดชอบต่อสังคม
8. บูรณาการกับความสิ้นหวัง (Integrity VS. Despair) (ในช่วง60 ปีขึ้นไป) เป็นช่วงของวัยชราซึ่งเป็นวัยสุดท้าย ถ้าบุคคลผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มาด้วยดี ก็จะมองอดีตเต็มไปด้วยความสำเร็จ มีปรัชญาชีวิตตนเอง ภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ต่างให้แก่ลูกหลาน แต่ถ้าตรงกันข้ามกันชีวิตมีแต่ความล้มเหลว ก็จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิต เสียดายเวลาที่ผ่านมาไม่พอกับชีวิตในอดีตไม่ยอมรับสภาพตนเอง เกิดความคับข้องใจต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขาดความสงบสุขในชีวิต
สรุป ทฤษฎีของอีริคสัน เป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่งวัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อ ๆ มาก็สร้างจากรากฐานนี้ ถ้าหากในวัยทารกเด็กได้รับการดูแลอย่างดีและอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตั้งแต่บิดามารดา บุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเขา จะช่วยให้เด็กช่วยตนเอง มีความตั้งใจที่จะทำอะไรเอง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นก็จะเป็นผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีสมรรถภาพที่จะทำอะไรได้ นอกจากนี้จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ดีและไม่ดีของตนเองได้ แต่บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และทุกคนมีโอกาสที่จะแก้ไขบุคลิกภาพของตน และผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมก็มีส่วนที่จะช่วยส่งเสริมหรือแก้ไขบุคลิกภาพของผู้เยาว์ที่อยู่ในความดูแลให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข
8. บูรณาการกับความสิ้นหวัง (Integrity VS. Despair) (ในช่วง60 ปีขึ้นไป) เป็นช่วงของวัยชราซึ่งเป็นวัยสุดท้าย ถ้าบุคคลผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มาด้วยดี ก็จะมองอดีตเต็มไปด้วยความสำเร็จ มีปรัชญาชีวิตตนเอง ภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ต่างให้แก่ลูกหลาน แต่ถ้าตรงกันข้ามกันชีวิตมีแต่ความล้มเหลว ก็จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิต เสียดายเวลาที่ผ่านมาไม่พอกับชีวิตในอดีตไม่ยอมรับสภาพตนเอง เกิดความคับข้องใจต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขาดความสงบสุขในชีวิต
สรุป ทฤษฎีของอีริคสัน เป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่งวัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อ ๆ มาก็สร้างจากรากฐานนี้ ถ้าหากในวัยทารกเด็กได้รับการดูแลอย่างดีและอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตั้งแต่บิดามารดา บุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเขา จะช่วยให้เด็กช่วยตนเอง มีความตั้งใจที่จะทำอะไรเอง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นก็จะเป็นผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีสมรรถภาพที่จะทำอะไรได้ นอกจากนี้จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ดีและไม่ดีของตนเองได้ แต่บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และทุกคนมีโอกาสที่จะแก้ไขบุคลิกภาพของตน และผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมก็มีส่วนที่จะช่วยส่งเสริมหรือแก้ไขบุคลิกภาพของผู้เยาว์ที่อยู่ในความดูแลให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข
3. ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของแฮรี สแต็ค ซัลลิแวน (Sullivan’s Interpersonal Theory)
ประวัติของแฮรี สแต็ค ซัลลิแวน (Harry Stack Sullivan) ซัลลิแวน เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1892 ที่มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1949 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เขาได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์ จากวิทยาลัยทางการแพทย์ของชิคาโก ได้เข้าเป็นแพทย์ทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามยุติลงเขาได้รับราชการเป็นแพทย์ในสถาบันต่างๆ ต่อมาได้ทำงานในคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาได้ศึกษาโรคจิตเภทที่มีมากในขณะนั้น ซัลลิแวน เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ เขาได้เริ่มตั้งทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929 และสำเร็จในกลางปี ค.ศ. 1930 ตลอดชีวิตของซัลลิแวนได้มีผลงานการเขียนเพียงเล่มเดียว คือ ทฤษฎีบุคลิกภาพในปี 1947 เมื่อเขาเสียชีวิตเพื่อนของเขาได้นำเทปบันทึกเสียงปาฐกถามาถอดความตีพิมพ์ออกเผยแพร่ทางวารสารเช่น
1. Conception of Modern Psychiatry
2. The Psychiatric Interview
โครงสร้างบุคลิกภาพ (Structure of Personality) ซัลลิแวน เห็นว่าพันธุกรรมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานความเจริญเติบโตและต้องมีความสมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้แก่ บุคคล สภาพการณ์ต่างๆ มนุษย์ต้องเรียนรู้การอยูร่วมกัน ทำงานร่วมกัน และจัดสิ่งเหล่านี้ให้เป็นระบบ เขาได้อธิบายว่าพฤติกรรมของบุคคลที่แตกต่างกันนั้นเกิดจากการทำงานประสานกันของระบบทั้ง 3 คือ การแปรผัน (Dynamism) กระบวนการของพฤติกรรม (Patterm) และการแปรผันพลังจิต (Dynamism of Psychiatry) ซึ่งทำให้เกิดความเครียด (Tension) บุคคลก็จะแสดงพฤติกรรมตามประสบการณ์ที่ตนเคยรับรู้ ทำให้เกิดการผ่อนคลาย (Euphoria) นอกจากนี้ความเครียดของบุคคลอาจเกิดจากความต้องการ (Need) ซึ่งไม่ได้รับการตอบสนอง ทำให้เสียสมดุลของชีวิต หรือความเครียดอาจเกิดจากความกังวล (Anxiety) ที่บุคคลไม่รู้สึกอบอุ่นหรือมั่นคงในเรื่องของความรัก
ระบบตน (Self System) พ่อแม่จะเป็นผู้ปรุงแต่งบุคลิกภาพเบื้องต้นให้แก่ทารกจนกว่าทารกจะรับรู้และสามารถสร้างภาพตนเองขึ้นมาได้ว่า “ฉันดี” (Good Me) “ฉันเลว” (Bad Me) และ “ไม่ใช่ฉัน” (Not Me) โดยที่ทารกจะได้รับประสบการณ์ 3 ด้าน ดังนี้
1.
ประสบการณ์ที่ได้รับคำชมเชย
2.
ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลทีละน้อยสะสม
3.
ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลรุนแรงเฉียบพลัน
ซัลลิแวน ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ของทารกที่มีต่อพ่อแม่ว่าเป็นรากฐานในการแปรผันพลัง
(Dynamism) ในวัยต่อมา ทารกสามารถสร้างความอบอุ่นมั่นคงแก่ตนเองได้
เมื่อพบเหตุการณ์ไม่ต้องการ และในการสร้างภาพตนเองเกิดจากประสบการณ์ดังนี้
1.
ภาพตนเองที่ว่า “ฉันดี” (Good Me Self) จะเกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากแม่ที่ให้ความรู้สึกรักใคร่
อ่อนโยน เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
เป็นห่วงเป็นใยซึ่งทารกจะเกิดความพึงพอใจ
2.
ภาพตนเองที่ว่า “ฉันเลว” (Bad
Me Self) เกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง
ไม่ดูแล ไม่ตอบสนองความต้องการของทารก
ทำให้ทารกเกิดความไม่พอใจเกิดความวิตกกังวล
3. ภาพ “ไม่ใช่ฉัน” (Not Me) เกิดจากการที่ทารกได้รับประสบการณ์ในลักษณะขู่เข็ญหรือเกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง และแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงปฏิเสธว่า “ไม่ใช่ฉัน” เพราะเป็นสิ่งที่ทารกไม่ต้องการรับรู้อย่างยิ่ง
3. ภาพ “ไม่ใช่ฉัน” (Not Me) เกิดจากการที่ทารกได้รับประสบการณ์ในลักษณะขู่เข็ญหรือเกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง และแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงปฏิเสธว่า “ไม่ใช่ฉัน” เพราะเป็นสิ่งที่ทารกไม่ต้องการรับรู้อย่างยิ่ง
สรุป ซัลลิแวนมีความเชื่อมั่นว่า
การพัฒนาบุคลิกภาพในเยาว์วัยมีความสำคัญมากและเป็นวัยที่กำหนดแนวทางพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลในอนาคต
อีกทั้งยังเป็นวัยที่เริ่มรู้จักโลกและเริ่มมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นมากขึ้น
4.แนวคิดทฤษฎีของจุง
ประวัติของคาร์
จี จุง เกิดที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 26
กรกฎาคม ค.ศ. 1875 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 6
มิถุนายน ค.ศ. 1961 เขาเป็นนักจิตแพทย์ชาวสวิสที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่คิดเก่งหรือนักคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง
และได้รับการยกย่องว่า เป็นนักจิตวิทยา ที่อยู่ในระดับ แนวหน้า Jung ยังได้ใช้เวลามาก
ตลอดชีวิตศึกษาวิทยาการต่างๆ หลายๆ สาขา นอกจากนี้ ยังได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นนักจิตวิทยาที่ร่าเริง
ใจดี และมีบุคลิกภาพที่ประทับใจผู้อื่น และยังเป็นผู้ที่เคร่งศาสนา งานวิจัยที่เขาทำเป็นเรื่องพฤติกรรมของบุคคล
แนวคิดที่สำคัญ ในช่วงแรกนั้นJung เน้นการศึกษาเรื่องจิตไร้สำนึก
เช่นเดียวกับฟรอยด์แต่ต่อมา ได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆ อย่างลึกซึ้งขึ้น ทำให้ Jung มีแนวความคิดแตกต่างกัน
โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์ที่เกิดมามีแนวโน้มที่จะรับมรดกจากบรรพบุรุษของเขา ซึ่งจะเป็นการชี้นำ
พฤติกรรม และกำหนดจิตสำนึก ตลอดจนการตอบสนองต่อประสบการณ์ และโลกส่วนตัวของเขา
หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า
มีการก่อตัวของเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ (Racial) และจะสะสมในบุคลิกภาพที่นำไปสู่การเลือกรูปแบบของการปรับตัว และการเลือก ที่จะอยู่ในโลก ของประสบการณ์แต่ละบุคคล บุคลิกภาพแต่ละบุคคลจึงเป็นผลของการกระทำของแรงภายใน ( Inner Forces ) ที่กระทำต่อแรงภายนอก (Outer Forces) ทฤษฎีนี้เน้นเรื่องของการเริ่มต้นของบุคลิกภาพที่เชื้อชาติ หรือเผ่าพันธุ์ในขณะที่ ฟรอยด์ เน้นจุดเริ่มต้นของบุคลิกภาพจากหลังกำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทารก นอกจากนี้ Jung ยังได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล
เป็นเสมือนผลผลิตของอดีต กล่าวคือ มนุษย์ได้ถูกปรุงแต่ง และถูกวางรูปแบบ ให้เป็นตัวตนในปัจจุบัน
โดยมีประสบการณ์ที่สะสมในอดีตโดยไม่รู้จุดเริ่มต้นของมนุษย์ว่าแยกมาจากเผ่าใด รากฐานของบุคลิกภาพ จึงเป็นเรื่องอดีตชาติ (Archaic) และบรรพกาล ( Primitive ) ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นเรื่องของความไร้สำนึก ที่ไม่สามารถจดจำได้ และมีขอบเขตอย่างกว้างขวาง (Universal)ในส่วนที่เกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์นั้นทฤษฎีนี้เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลรวม ของอนาคตกาลกับอดีตกาล (Teleology and Causality) พฤติกรรมของมนุษย์ได้รับเงื่อนไขไม่เพียงแต่ ความแตกต่างที่เกิดจาก อดีตกาลเท่านั้น แต่ยังเกิดจากปัจจัยอื่นอีก ซึ่งเป็นสาเหตุให้บุคคลเกิด แนวทางใน การพัฒนาตนเอง ในทางสร้างสรรค์เพื่อแสวงหาความสมบูรณ์ และคำนึงถึง การเกิดมาเพื่อมีชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง ( Rebirth )
มีการก่อตัวของเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ (Racial) และจะสะสมในบุคลิกภาพที่นำไปสู่การเลือกรูปแบบของการปรับตัว และการเลือก ที่จะอยู่ในโลก ของประสบการณ์แต่ละบุคคล บุคลิกภาพแต่ละบุคคลจึงเป็นผลของการกระทำของแรงภายใน ( Inner Forces ) ที่กระทำต่อแรงภายนอก (Outer Forces) ทฤษฎีนี้เน้นเรื่องของการเริ่มต้นของบุคลิกภาพที่เชื้อชาติ หรือเผ่าพันธุ์ในขณะที่ ฟรอยด์ เน้นจุดเริ่มต้นของบุคลิกภาพจากหลังกำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทารก นอกจากนี้ Jung ยังได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล
เป็นเสมือนผลผลิตของอดีต กล่าวคือ มนุษย์ได้ถูกปรุงแต่ง และถูกวางรูปแบบ ให้เป็นตัวตนในปัจจุบัน
โดยมีประสบการณ์ที่สะสมในอดีตโดยไม่รู้จุดเริ่มต้นของมนุษย์ว่าแยกมาจากเผ่าใด รากฐานของบุคลิกภาพ จึงเป็นเรื่องอดีตชาติ (Archaic) และบรรพกาล ( Primitive ) ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นเรื่องของความไร้สำนึก ที่ไม่สามารถจดจำได้ และมีขอบเขตอย่างกว้างขวาง (Universal)ในส่วนที่เกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์นั้นทฤษฎีนี้เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลรวม ของอนาคตกาลกับอดีตกาล (Teleology and Causality) พฤติกรรมของมนุษย์ได้รับเงื่อนไขไม่เพียงแต่ ความแตกต่างที่เกิดจาก อดีตกาลเท่านั้น แต่ยังเกิดจากปัจจัยอื่นอีก ซึ่งเป็นสาเหตุให้บุคคลเกิด แนวทางใน การพัฒนาตนเอง ในทางสร้างสรรค์เพื่อแสวงหาความสมบูรณ์ และคำนึงถึง การเกิดมาเพื่อมีชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง ( Rebirth )
อย่างไรก็ตามทฤษฎีของ Jung แตกต่างจาก Frued ที่อธิบายว่า
พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นทางเพศ แต่ Jung เชื่อว่าบุคคลจะเป็นคนเช่นใดนั้น
ย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็กด้วยเช่นกันหลักการเบื้องต้นของการพัฒนาการ
(Basic Concept of Development) ของมนุษย์มีลักษณะ 3 ประการ พอสรุปได้ดังนี้
1. เป้าหมายของการพัฒนาการ
(The Goal of Development) เป็นการแสวงหาเป้าหมายสูงสุดที่มนุษย์พึงแสวงหา
นั่นคือการเข้าใจตนเอง (Self-Actualization) ซึ่งเป็นความสมบูรณ์สูงสุด
เป็นบูรณการของทุก ๆ ระบบของบุคลิกภาพ โดยที่จิต (Psyche) ได้มีศูนย์กลางขึ้นใหม่
คือ ตน (Self) แทนศูนย์กลางเดิม คือ การรับรู้ในตนเอง (Ego)
ดังนั้น Self จึงเป็นศูนย์กลางของบุคลิกภาพแทน
Ego และจุดมุ่งหมายนี้
ทำให้มนุษย์พัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง จนกว่าจะถึงจุดมุ่งหมายของการแสวงหา
ซึ่งถือว่า เป็นจุดสุดท้ายของวิวัฒนาการของมนุษย์ ที่ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนาน
ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์นั่นเอง
2. อดีตกับอนาคต (Casually versus Theology) ทั้งอดีต
และอนาคตเป็นสิ่งที่จะทำให้เข้าใจบุคลิกภาพของบุคคลโดยสมบูรณ์ซึ่งจะต้องระลึกเสมอว่า
ปัจจุบันไม่ได้ถูกกำหนดจากอดีตเท่านั้น แต่ได้ถูกกำหนดโดยอนาคตด้วยเช่นนั้น
ดังนั้นที่เราจะเข้าใจมนุษย์ได้นั้นจะต้องพิจารณามนุษย์ทั้งสองด้าน คือ
ด้านหนึ่งมองในอดีต และอีกด้านหนึ่งก็จะมองในอนาคต และทัศนะทั้งสองนี้
เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกันก็จะเป็นภาพของมนุษย์ที่สมบูรณ์
นอกจากนี้แล้วความคิดเห็นในเรื่องเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ อนาคต (Teleology) หรือเป้าหมายสุดท้าย (Finalistic) จะเป็นตัวชี้นำ
และกำหนดจุดมุ่งหมายของมนุษย์โดยตรง
นอกจากนี้จิตยังเป็นความสามารถที่จะทำให้มนุษย์ตกเป็นทาส หรือเป็นนักโทษ
ที่ไม่สามารถหลุดพ้นจากเรื่องเก่าๆ ได้ ส่วนอนาคต จะทำให้มนุษย์รู้สึกมีความหวัง
ที่จะมีชีวิตอยู่
3. พันธุกรรม ( Heredity ) เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในทัศนะของ
Jung ทั้งนี้เนื่องจากพันธุกรรม เป็นพื้นฐานของสัญชาตญาณ
ทางชีวภาพ ที่ทำหน้าที่สืบเผ่าพันธุ์ และสัญชาตญาณเป็นรากฐานในธรรมชาติของมนุษย์
เป็นตัวเชื่อมโยงมนุษย์กับอดีตของความเป็นสัตว์ นอกจากนี้พันธุกรรม
ยังเป็นมรดกจากบรรพบุรุษ ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของบรรพบุรุษ
ซึ่งอาจก่อรูปเป็นรูปต่างๆ (Archetype) หรืออาจเป็นความจำในอดีต
ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของพันธุกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กันหลายๆ ชั่วอายุคน ขั้นของการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
(Stage of Personality Development)Jung ไม่ได้อธิบายรายละเอียดในขั้นต่างๆ
ของบุคลิกภาพจากวัยทารกจนถึงวัยผู้ใหญ่เช่นเดียวกับฟรอยด์
แต่จุงได้สรุปพัฒนาการของบุคคลไว้เป็น 4 ขั้นคือ
1. ระยะแรกเกิด ถึง 5 ขวบ เป็นระยะแรกของชีวิต ที่พลังเพศ (Libido) จะครอบคลุมหรือ
ทำกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่
2. วัยรุ่น เป็นวัยที่กำลังมีความสามารถ มีกำลังความคิด มีความกระตือรือร้น และความ
ขยันขันแข็งในกิจการต่างๆ มีแรงกระตุ้น มีพลังในการกระทำต่างๆ เต็มได้ด้วยความมีชีวิตชีวา แต่ก็เป็นระยะที่ยังพึ่งพาผู้อื่นอยู่เป็นช่วงที่กำลังเรียนรู้ในเรื่องอาชีพ การแต่งงาน และการสร้างคนเพื่อให้มีชีวิตอยู่ในสังคม
3. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น มีความสนใจ
ใหม่ ๆ เกิดขึ้น และก็มักเป็นความสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมต่างๆ
4. วัยกลางคน เป็นระยะที่บุคคลต้องการอิสระ ซึ่งอาจจะเก็บตัวมากขึ้น มีค่านิยมในเรื่อง
การทำประโยชน์ต่อสังคม สนใจศาสนา ปรัชญา ความเป็นพลเมืองดี มักจะเปลี่ยนแปลงเป็นผู้ที่มีจิตใจต่อผู้อื่น มีคุณธรรม และมนุษยธรรม
1. ระยะแรกเกิด ถึง 5 ขวบ เป็นระยะแรกของชีวิต ที่พลังเพศ (Libido) จะครอบคลุมหรือ
ทำกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่
2. วัยรุ่น เป็นวัยที่กำลังมีความสามารถ มีกำลังความคิด มีความกระตือรือร้น และความ
ขยันขันแข็งในกิจการต่างๆ มีแรงกระตุ้น มีพลังในการกระทำต่างๆ เต็มได้ด้วยความมีชีวิตชีวา แต่ก็เป็นระยะที่ยังพึ่งพาผู้อื่นอยู่เป็นช่วงที่กำลังเรียนรู้ในเรื่องอาชีพ การแต่งงาน และการสร้างคนเพื่อให้มีชีวิตอยู่ในสังคม
3. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น มีความสนใจ
ใหม่ ๆ เกิดขึ้น และก็มักเป็นความสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมต่างๆ
4. วัยกลางคน เป็นระยะที่บุคคลต้องการอิสระ ซึ่งอาจจะเก็บตัวมากขึ้น มีค่านิยมในเรื่อง
การทำประโยชน์ต่อสังคม สนใจศาสนา ปรัชญา ความเป็นพลเมืองดี มักจะเปลี่ยนแปลงเป็นผู้ที่มีจิตใจต่อผู้อื่น มีคุณธรรม และมนุษยธรรม
อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfed Adler) เป็นจิตแพทย์ที่ได้ค้นคว้าและพัฒนาบุคลิกภาพขึ้นมาใหม่ เรียกว่า จิตวิทยาปัจเจกชน (Individual Psychology) เชื่อในอิทธิพลของสังคม ชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมของบุคคลจะเป็นอย่างไรนั้นถูกกำหนดโดยสังคมรอบตัว เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ประเพณีวัฒนธรรม วิธีการเลี้ยงดูบุตร แอดเลอร์ มีความเชื่อว่า บุคคลโดยพื้นฐานแล้วถูกจูงใจโดยปมด้อย บุคคลบางคนมีความรู้สึกเป็นปมด้อย เมื่อมีร่างกายพิการและมีความต้องการที่จะทำการชดเชยปมด้อยเหล่านั้น ความรู้สึกที่ตนเองมีปมด้อยทำให้เกิดแรงขับที่เรียกว่า ปมเด่น ตัวอย่างเช่น นักกวีชาวอังกฤษ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) ชาพิการเป็นแชมป์ว่ายน้ำ บีโธเวน(Beethoven) หูพิการได้สร้างตนเองจนได้รับความสำเร็จเป็นนักดนตรีเอกของโลก แอดเลอร์ มีความเชื่อว่า ความรู้สึกของตนเองจะแสดงบทบาทที่สำคัญ ในการสร้างรูปแบบของบุคลิกภาพ การรู้จักสร้างตนเอง และบุคลิกภาพแบบที่รู้จักตนเอง ก่อให้เกิดความพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งหลาย และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ เพราะว่าศักยภาพนี้เป็นลักษณะพิเศษที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล ทรรศนะจิตวิทยาของแอดเลอร์เรียกว่า จิตวิทยาปัจเจกชน (Individual Psychology) ความรู้สึกเป็นปมด้อย (Feeling of Inferiority) แอดเลอร์ กล่าวว่าบุคคลมีความพิการทางร่างกายมีความพยายามที่จะหาทางชดเชยความบกพร่องของตนเอง โดยการฝึกอบรมอย่างเร่งรีบ เด็กผู้หญิงที่พูดติดอ่าง จะพยายามเอาชนะอุปสรรคการพูดติดอ่าง โดยการพยามยามฝึกหัด จนกระทั่งสักวันหนึ่งเขาก็จะสามารถพูดได้เก่ง บางทีก็อาจจะได้เป็นผู้ประกาศข่าวทางวิทยุกระจาย เสียง เด็กผู้ชายที่มีขาไม่แข็งแรงจะมีความพยายามอุตสาหะฝึกฝนตนเอง ให้กลายเป็นนักวิ่งระยะไกลที่มีชื่อเสียง จากตัวอย่างเด็กหญิงและเด็กชายที่กล่าวมาแล้วนี้ แอดเลอร์มีความเชื่อว่า ปมด้อยมิได้เกิดจากความพิการในตัวของมัน ที่ทำให้เกิดแรงมานะพยายามที่จะเอาชนะปมด้อย แต่ที่จริงแล้วเกิดจากเจตคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งนั้น บุคคลที่มีความเป็นอิสระที่จะแปลความหมาย ความบกพร่อง ได้หลายแนวทาง หรือแม้กระทั่งว่าจะไม่ยอมรับรู้เลยก็ได้ ถ้าเขาไม่ยอมรับรู้เลยก็จะไม่ทำให้เกิดความพยายาม ที่จะทำลายพฤติกรรม ทำให้เกิดเป็นปมเขื่อง ชอบแสดงอำนาจความก้าวร้าวเพื่อปิดบังข้อบกพร่องของตน
6. ทฤษฎีมนุษยนิยมของคาร์
โรเจอร์ส
คาร์ โรเจอร์ส เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม
ค.ศ. 1902 เป็นบุตรชายคนที่ 4 มีพี่น้อง
6 คน เกิดที่เมืองโอ็กปาร์ค (Ork Park) รัฐอิลินอยส์ (Illinois) ประเทศสหรัฐอเมริกา
เขามาจากครอบครัวที่อบอุ่น มี ความรักใคร่ และใกล้ชิดกันระหว่างพ่อแม่พี่น้อง
บิดามารดาของเขาเป็นผู้ที่มี ความสนใจทางการศึกษามาก
และเป็นคนที่เคร่งครัดทางศาสนา จึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของลูกๆ
อย่างเต็มที่ พร้อมๆ กับการอบรมให้ลูกๆ ฝักใฝ่ในศาสนาด้วย
แนวคิดที่สำคัญ
แนวคิดที่สำคัญโรเจอร์สเชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีมีแรงจูงใจในด้านบวก เป็นผู้ที่มีเหตุผล (Rational) เป็นผู้ที่สามารถได้รับการขัดเกลา (Socialized) สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ ถ้ามีอิสระเพียงพอ และมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (Full Potential) และพัฒนาไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมกับ ความสามารถของแต่ละบุคคล อันจะนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization)
แนวคิดที่สำคัญโรเจอร์สเชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีมีแรงจูงใจในด้านบวก เป็นผู้ที่มีเหตุผล (Rational) เป็นผู้ที่สามารถได้รับการขัดเกลา (Socialized) สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ ถ้ามีอิสระเพียงพอ และมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (Full Potential) และพัฒนาไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมกับ ความสามารถของแต่ละบุคคล อันจะนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization)
โรเจอร์ส ได้อธิบายถึง กระบวนการพัฒนาการทางบุคลิกภาพว่า มีกระบวนการ 2 ประการดังนี้
1. กระบวนการพัฒนาการค่านิยม (Organizing Valuing Process) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า
โรเจอร์สเชื่อว่า บุคคลเกิดมา พร้อมพลัง หรือแรงจูงใจ
ที่จะพัฒนาตนเองไปสู่สภาวะของการรู้จักตนเองอย่างแท้จริง
และเนื่องจากบุคคลเกิดมาจาก สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน
จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสิ่งแวดล้อมและโลกส่วนตัวของบุคคลด้วย(Internal
Frame of Reference) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่บุคคลจะเลือกรับรู้
และให้ ความหมายต่อประสบการณ์ต่างๆ เช่น เด็กที่ถูกนำไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่
อาจเกิด ความกลัว ที่อาจเกิดมาจาก การรับรู้ โดยไม่จำเป็นต้องมาจากสภาพ
ความเป็นจริงของสิ่งแวดล้อมเสมอไป และเมื่อเด็กมีประสบการณ์เพิ่มเติม ที่ทำให้เกิด
ความเชื่อว่าสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่นั้น ไม่น่ากลัวอย่างที่เคยรับรู้
ทำให้เด็กมีการรับรู้ โดยไม่จำเป็นต้องมาจากสภาพ ความเป็นจริงของสิ่งแวดล้อมเสมอไป
และเมื่อเด็กมีประสบการณ์เพิ่มเติม หากจะกล่าวโดยสรุป จะเห็นว่า
การที่เด็กเกิดมาหากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่น ปลอดภัยเต็มไปด้วย ความรักเอาใจใส่
จะทำให้เด็กรับรู้และให้ค่านิยม ต่อประสบการณ์นั้น ไปทางบวก
เด็กจะรับรู้ต่อสภาพแวดล้อม และให้ ความหมายของการรับรู้ตาม ความเป็นจริง
ในทางตรงข้าม เด็กที่ได้รับสิ่งแวดล้อมทางลบ
เขาก็จะให้ค่านิยมต่อประสบการณ์ในทางลบ สิ่งเหล่านี้
ถือว่าเป็นกระบวนการพัฒนาการทางค่านิยม
ที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นประสบการณ์ของบุคคล จะมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาการทางค่านิยมของบุคคล
2. การยอมรับจากผู้อื่น (Positive Regard from others) จะเห็นได้ว่า
ตัวตน (self) ของบุคคล จะเริ่มพัฒนาเมื่อบุคคล
มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม รอบตัวเขา เขาจะรับรู้ ความจริงของสภาพแวดล้อม
และนำเอาประสบการณ์ต่าง มาให้ ความหมายต่อการรับรู้เรียกว่า ประสบการณ์แห่งตนเอง (SelfExperience) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กับบุคคลที่สำคัญที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเขา
จะนำไปสู่การพัฒนา ทำให้บุคคลรู้สึกถึง
ความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองnการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลจะเริ่มจาก
ในช่วงแรกของชีวิต ทารกไม่สามารถแยกตนเองออกจากสิ่งแวดล้อม
และนึกว่าเป็นตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ทำให้เด็กติดพ่อแม่
และสิ่งแวดล้อมตนเองได้ และเริ่มเข้าใจตัวตนของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้
จะเป็นช่วงที่เด็กมุ่งแสวงหา ความต้องการ พึงพอใจเพื่อสนอง ความต้องการของตน
ทำให้เกิดการประเมินตนเอง (Self-Evaluation) จากพฤติกรรมที่ผู้อื่นยอมรับ
หรือไม่ยอมรับ เขามาเป็นเครื่องตัดสิน
3. การยอมรับตนเอง (Self-Regard) บุคคลจะเรียนรู้ที่จะยอมรับตนเองจากการที่เขารับรู้ว่าผู้อื่นแสดงการยอมรับในตัวเขาหรือไม่
อย่างไร โดยไม่คำนึงถึง ความต้องการของตนเอง แต่จะเอา
ค่านิยมของผู้อื่นที่มีต่อตัวเขา เป็นเกณฑ์ในการประเมินพฤติกรรมของตนว่า ดีเลว
ทำให้เขาแสดงพฤติกรรรมเพื่อให้สนอง ความต้องการของผู้อื่น
และให้ผู้อื่นยอมรับมากกว่า การคำนึงถึง ความพึงพอใจของตน ทำให้เขารับเอา (Interject)
ค่านิยมผู้อื่นเข้ามาไว้ในตนเอง
3. ภาวะของการมีคุณค่า (Conditions or Worth) เป็นลักษณะที่บุคคลรู้สึกว่าตน
มีคุณค่า เพราะเขาสามารถยอมรับตนเองได้ โดยมโนภาพแห่งตนที่เขารับรู้สอดคล้องกับ
ความเป็นจริง เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ถ้ามโนภาพแห่งตนของเขาแตกต่างไปจาก
ความจริง จะทำให้เขาเกิด ความวิตกกังวลและปฏิเสธ ไม่ยอมรับตนเองตาม ความเป็นจริง
ทำให้เขามีพฤติกรรมไม่สมเหตุสมผล ไม่สามารถปรับตัวได้
หากบุคคลรับเอาค่านิยมของผู้อื่น หรือบรรทัดฐานของผู้อื่น
และสังคมเข้าไว้ในตนเองมากเกินไป จะทำให้เขาไม่สามารถยอมรับตนเองได้ เกิด
ความรู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า เกิด ความคับข้องใจขึ้น จะเห็นได้ว่า
การที่บุคคลจะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพได้อย่างเหมาะสมนั้น
จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เด็กได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเด็กได้รับ
ความรักจากครอบครัวโดยปราศจากเงื่อนไข (Unconditional Positive Regard) จะทำให้เด็กเกิด ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยซึ่งเป็น
ความรู้สึกที่เป็นพื้นฐานของการมีบุคลิกภาพสมบูรณ์
ทั้งนี้เนื่องจากการยอมรับโดยปราศจากเงื่อนไข
จะทำให้บุคคลเรียนรู้ถึงแม้ว่าพฤติกรรมบางอย่างของเขาจะไม่เป็นที่ยอมรับ
แต่พ่อแม่ก็ยังให้ ความรักและยอมรับเขาอยู่เขาจะไม่เกิด
ความรู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า และยังสามารถยอมรับตนเอง และสามารถมองตนเองในทางบวก (Positive
Self-Regard) ได้
7. แนวความคิดทฤษฎีของ Karen
Horney คาร์เรน ฮอร์เนย์
แนวความคิดของ Karen Horney คาร์เรน
ฮอร์เนย์ (1885 – 1952) นักจิตวิเคราะห์ คาร์เรน ฮอร์เนย์
ได้อธิบายว่ามนุษย์มีความต้องการดังนี้
1.
ความต้องการใฝ่สัมพันธ์และการยอมรับยกย่อง
ความต้องการที่ไม่แยกแยะ การที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและให้เขายอมรับตนเอง (affection and approval)
2.
ความต้องการคู่
และต้องการให้มีผู้ที่ดูแลคุ้มครองตนเอง ต้องการความรัก (partner)
3.
ความต้องการจำกัดตนเองในวงแคบ
ให้มีคนคอยสั่ง (restrict one's life to narrow borders)
4.
ความต้องการอำนาจ
ที่จะควบคุมผู้อื่น ( need for power, for control over others)
5.
ความต้องการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น
( to exploit others and get the better of them)
6.
ความต้องการการยอมรับทางสังคม
ความภาคภูมิใจ (social recognition or prestige)
7.
ความต้องการได้รับการชื่นชมโดยส่วนตัว
ต้องการเป็นคนสำคัญ มีค่า (personal admiration)
8.
ความต้องการความสำเร็จ
ต้องการเป็นที่ 1 (personal achievement.)
9.
ความต้องการความเป็นอิสระ
(self-sufficiency and independence)
10.
ความต้องการความสมบูรณ์สุด
(perfection and unassailability)
เธอเสนอว่ามนุษย์แบ่งออกได้เป็นสามประเภท
ตามพื้นฐานของความวิตกกังวลและอาการทางจิตประสาทของมนุษย์ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ 3
กลุ่มดังนี้
1.
การเข้าหาคน (พวกยอมคน) Compliance ได้แก่ ความต้องการที่ 1 ,2 และ 3
2.
การพุ่งเข้าใส่คน
(พวกก้าวร้าว) Aggression ได้แก่ ความต้องการที่ 4-8
3.
การหลีกหนีคน (พวกใจลอย) Withdrawal ได้แก่ ความต้องการที่ 9,10 และ 3
ผลงานวิจัยของฮอร์เนย์พบว่า ไทป์ย่อยในกลุ่มต่าง ๆ เช่น
·
กลุ่มก้าวร้าว
มีคนอยู่สามประเภทคือ
คนหลงตัวเอง
มนุษย์สมบูรณ์แบบ
คนจองหอง
คนหลงตัวเอง
มนุษย์สมบูรณ์แบบ
คนจองหอง
·
กลุ่มใจลอย แบ่งกลุ่มย่อย
คือ
กลุ่มบุคลิก ชอบถอนตัว
ชอบต่อต้าน
กลุ่มบุคลิก ชอบถอนตัว
ชอบต่อต้าน
·
กลุ่มยอมคน
แบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่มย่อยอีกคือ
พวกรักสนุก
พวกทะยานอยาก
พวกปรับตัว
พวกรักสนุก
พวกทะยานอยาก
พวกปรับตัว
ผลงานวิจัยของ ฮอร์เนย์ ต้องการปรับปรุงแก้ไขอีก
เพราะบุคลิกภาพที่เแบ่งย่อยซ้ำ ซ้อนกันเอง และบางครั้งกลุ่มเดียวกัน
ที่อยู่ในระดับเดียวกัน ยังแยกเป็นคนละพวก
Self theory
ฮอร์เนย์ได้อธิบาย Self theory ว่ามีความสำคัญในการที่บุคคลจะมีชีวิตที่ราบรื่น มีความสุข หรือมีความวิตกกังวล นั้นปัจจัยสำคัญคือ การรับรู้ตนเอง Self หมายถึง สาระหลักที่สำคัญของการมีชีวิต เป็นสาระหลักสำคัญหรือเป็นแก่น ของศักยภาพของบุคคล หากบุคคลอยู่ดีมีสุข ชีวิตมีความสุข บุคคลนั้น จะมี มโนภาพ ความรับรู้และเข้าใจ ว่าเขาเป็นใคร อย่างถูกต้องตรงกับที่เขาเป็นจริง ๆ ก็จะเป็นอิสระใน การตระหนักรู้ เกี่ยวกับ ศักยภาพและความสามารถของตน (self-realization).
คนที่เป็นโรคประสาท (The neurotic) จะรับรู้สิ่งต่าง ๆ แตกต่างออกไป
ฮอร์เนย์ได้อธิบาย Self theory ว่ามีความสำคัญในการที่บุคคลจะมีชีวิตที่ราบรื่น มีความสุข หรือมีความวิตกกังวล นั้นปัจจัยสำคัญคือ การรับรู้ตนเอง Self หมายถึง สาระหลักที่สำคัญของการมีชีวิต เป็นสาระหลักสำคัญหรือเป็นแก่น ของศักยภาพของบุคคล หากบุคคลอยู่ดีมีสุข ชีวิตมีความสุข บุคคลนั้น จะมี มโนภาพ ความรับรู้และเข้าใจ ว่าเขาเป็นใคร อย่างถูกต้องตรงกับที่เขาเป็นจริง ๆ ก็จะเป็นอิสระใน การตระหนักรู้ เกี่ยวกับ ศักยภาพและความสามารถของตน (self-realization).
คนที่เป็นโรคประสาท (The neurotic) จะรับรู้สิ่งต่าง ๆ แตกต่างออกไป
8. แนวความคิดตามทฤษฎี แอริค ฟรอมม์
แอริค ฟรอมม์เป็นนักทฤษฏีบุคลิกภาพที่มีพื้นฐานการศึกษาทางสังคมวิทยาและจิตวิทยาแล้วทำงานเป็นอาจารย์
จากพื้นฐานการศึกษาอย่างกว้างขว้างทางประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา วรรณคดีและปรัชญา
เขาได้ทุ่มเทความสนใจเพื่ออธิบายความเห็นว่า โครงสร้างของสังคมใดๆย่อมกล่อมเกลาบุคลิกภาพของสมาชิกให้เข้ากันได้กับค่านิยมส่วนรวมของสังคมนั้นๆ
หนังสือของฟรอมม์ได้รับการต้อนรับอย่างแพร่หลายจากนักอ่านทั่วโลก
นอกจากผู้ศึกษาสาขาจิตวิทยา จิตแพทย์
สังคมวิทยา ปรัชญา และศาสนา ยังรวมทั้งผู้อ่านที่สนใจความรู้ทั่วๆไปด้วย
แนวคิดที่สำคัญ
แนวคิดของฟรอมม์สะท้อนให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากความคิดของคาร์ล
มาร์กซเป็นอย่างมาก โดยฉพาะจากหนังสือชื่อ
ที่เขียนในปี1944 และหนังสือที่เขาเขียนพาดพิงเกี่ยวพันกับความคิดของมาร์กซ์โดยตรงมีหลายเล่มเช่น
ฟรอมม์เปรียบเทียบความคิดของฟรอยด์กับมาร์กซ์และแสดงความชื่นชมความคิดของมาร์กซ์มากกว่าความคิดของฟรอยด์
จนฟรอมม์ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นนักทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมาร์กซ์ แต่ตัวเขาเองรียกทฤษฎีของเขาว่า
แนวคิดที่สำคัญบางประการมีดังนี้
ความอ้างว้างเดียวดาย
ฟรอมม์ เชื่อว่ามนุษย์ยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความอ้างว้างเดียวดายด้วยสาเหตุหลายประการเช่น
1. การที่มนุษย์มีเหตุผลและจินตนาการต่างๆทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการทางอารยธรรมเพิ่มขึ้น
ในขณะเดียวกันก็แยกตัวเหินห่างจากธรรมชาติ จากสัตว์โลกพวกอื่นๆและจากบุคคลอื่นๆ
2. มนุษย์แสวงหาอิสระเสรีทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนา
เมื่อได้มาแล้วก็จำต้องแลกเปลี่ยนด้วยความอ้างว้าง
3.พัฒนาการทางเทคโนโลยี่สมัยใหม่ในวัตถุใช้สอยประจำวัน
เช่นเครื่องมือเพื่อความบันเทิง เครื่องทุ่นแรงในการทำงาน ทำให้มนุษย์มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลง
เมื่อต้องติดต่อพูดจาก็มีท่าทีห่างเหินไว้ตัว
ฟรอมม์เสนอ ทางแก้ความอ้างว้าง2ประการคือ
1.สร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนมนุษย์บนพื้นฐานความรักสร้างสรรค์( productive
Love ) ซึ่งได้แก่
ความเอื้ออาทรต่อกัน
ความรับผิดชอบต่อกันและกัน
ความนับถือซึ่งกันและกัน
ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
2.ยอมตนอ่อนน้อมและทำตัวคล้อยตามสังคม
ฟรอมม์มีความเห็นว่ามนุษย์เราใช้เสรีภาพสร้างสังคมให้ดีขึ้นได้ตามข้อเสนอข้อแรก
ส่วนการแก้ไขความอ้างว้างด้วยการทำตัวคล้อยตามสังคมตามข้อเสนอข้อหลังเขาเห็นว่าเป็นการเข้าสู่ความเป็นทาสรูปแบบใหม่นั่นเอง
ในหนังสือ Escape from Freedom ที่เขาเขียนในปี1941
ขณะลัทธินาซีกำลังรุ่งโรจน์
เขาชี้ให้เห็นว่าลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จนั้นถูกใจคนหมู่มากเพราะมันเสนอจะให้ความมั่นคง(แก่ผู้รู้สึกอ้างว้าง)ความต้องการ
ฟรอมม์กล่าวว่ามนุษย์มีความติองการ5ประการคือ
1.ความต้องการมีสัมพันธภาพ
2.ความต้องการสร้างสรรค์
3.ความต้องการมีสังกัด
4.ความต้องการมีอัตลักษณ์แห่งตน
5.ความต้องการมีหลักยึดเหนี่ยว
ความขัดแย้ง
มนุษย์ทุกเพศทุกวัยในสังคม ต่างมีความขัดแย้งในตนเองเช่น
ความขัดแย้งระหว่างความรู้สึกอ้างว้างและความรู้สึกมีอิสระเสรี/ความเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติกับความห่างเหินจากธรรมชาติ/ความเป็นสัตว์โลกอิทธิพลของสังคม
ฟรอมม์เป็นนักสังคมศาสตร์ แต่ได้รับการอบรมด้านจิตวิเคราะห์ร่วมด้วย
เนื่องจากเขาเคยอพยพจากยุโรปเข้ามาสู่อเมริกาในช่วงเวลาหนึ่งได้เห็นความแตกต่างระหว่างสังคมยุโรปกับสังคมอเมริกันทำให้ฟรอมม์ยิ่งมีความเชื่อมั่นว่า
สังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสูง
ประสบการณ์นี้และความรู้ด้านสังคมศาสตร์
ทำให้เขาอธิบายลักษณะสังคมแบบต่างๆที่มีผลต่อการวางรูปแบบพฤติกรรมมนุษย์ในสังคมแบบนั้นๆ
สังคมแห่งการวางอำนาจ (Authoritarian)
เนื่องจากมนุษย์กลัวความว้าเหว่ที่จะต้องเผชิญโลกอยู่อย่างโดดเดี่ยว
จำต้องแลกความเป็นอิสระของตนเองกับการได้ถูกนับเข้าในหมู่คณะและการตามผู้นำอย่างไม่ต้องคิด
จึงจำเป็นต้องยอมอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้มีอำนาจ
สังคมแห่งการผลิตผล(Productivity)
ในหนังสือMan for Himself ฟรอมม์ชี้ให้เห็นว่าความมุ่งหมายของมนุษย์คือ
การมีชีวิตอยู่อย่างเป็นประโยชน์ โดยมีการผลิตผลแก่เพื่อนร่วมโลก
ทัศนคติในทางผลิตผลนี้ก็เกิดจากการรักตนเอง การที่เรามีความรักตนเองทำให้เรารักผู้อื่นเป็น ความรักทำให้มนุษย์มีความเอื้ออาทร มีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นตามสิทธิที่เขาควรได้
นั่นคือสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์นั่นเอง
สังคมแห่งการเอาเปรียบ(Receptive)
ได้แก่สังคมที่มีบุคคลกลุ่มหนึ่งตักตวงเอาประโยชน์จากผู้อื่น
เช่นลัทธิเจ้าขุนมูลนาย หรือลักษณะนายกับทาส ผู้ใดอยู่ในฐานะผู้น้อย
ยอมรับว่าตนเป็นไพร่พลหรือข้าทาสก็ยอมก้มหน้าแบกภาระซึ่งผู้เป็นนายบัญชาลงมาเพื่อแลกกับผลตอบแทนคือการคุ้มครองป้องกันจากเจ้าขุนมูลนาย
ผู้น้อยในสังคมประเภทนี้ตรงกับOral passive ของฟรอยด์และพวกยอมของฮอร์นาย
สังคมแห่งการขูดรีด(Exploitative)
ได้แก่สังคมที่มีการกดขี่ข่มเหงทำนาบนหลังคน แบบนายทุนในศตวรรษที่18-19
กล่าวคือนายทุนเห็นแก่ได้ไม่ยอมจัดบริการหรือสวัดิการให้แก่คนงานที่ทำประโยชน์ให้แก่ตนเลย
บุคคลในสังคมเช่นนี้ย่อมเต็มไปด้วยการชิงดีหักล้างกัน จะเป็นด้วยไหวพริบหรือเอากันซึ่งๆหน้า ตรงกับประเภทOral-aggressiveของฟรอยด์
ทฤษฏีที่น่าสนใจของฟอรมม์มีดังนี้
1.การเป็นผู้วางอำนาจ
ฟอรมม์สนใจในอิทธิพลของการเป็นผู้วางอำนาจของบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดที่มีต่อสังคม
เขาเขียนไว้ในหนังสือ เพราะเหตุที่คนเรากลัวความหว้าเหว่ที่ต้องผจญอยู่แต่ผู้เดียว
แม้ว่าต้องแลกกับความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งปราถนามาแต่ต้น
ก็ทำให้คนเราจำยอมอ่อนน้อมต่อผู้วางอำนาจ ยอมตามผู้นำ ฟอรมม์สังเกตเห็นว่าภายใต้ลัทธิวางอำนาจนี้
ผู้ใดผ่าฝืนถือว่าเป็นบาปอย่างมหันต์ เพราะมีกฎตายตัวอยู่ว่าต้องเชื่อผู้นำ
แม้ว่าผู้นำจะผิดก็ไม่มีทางที่จะเถียงได้ ทั้งนี้ย่อมขัดกับหนักความรักของตัวเอง และความรับผิดชอบที่คนเรามีต่อความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ชาติ
2.การผลิตผล ฟรอมม์มีความเห็นว่ากิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ก็คือ
ทำอย่างไรจึงจะเจริญสัมพันธภาพกับโลกแห่งผู้คนและสิ่งต่างๆและกับตัวเองได้ดีสัมพันธภาพนี้อาจเป็นในทำนองผลิตผลหรือทำลาย
ฟรอมม์ได้เน้นไว้ในหนังสือ Man for Himself ว่าความมุ่งหมายและหลักศีลธรรมของมนุษย์ก็คือ
การมีชีวิตอยู่อย่างมีประโยชน์
ไม่อยู่เปล่าโดยปราศจากผลิตผลให้เป็นที่อาศัยของเพื่อนร่วมโลก
3.บุคลิกภาพประเภทต่างๆ
ฟอรมม์มีปรัชญาว่า ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง
หรือบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่โลกตลอดกาล จนไม่คิดถึงชีวิตชีวา
บุคคลหนึ่งๆบุคคลเดียวกันนั้น อาจจะเป็นได้ทั้งผู้บำเพ็ญประโยชน์และผู้ไร้ประโยชน์
9.แนวคิดตามทฤษฎีของอีริค เบิร์น
อีริค
เบิร์น(Eric Berne) เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม
ค.ศ.1910 ที่เมืองมอนทรีอัล คิวเบค ประเทศแคนนาดา
เดิมชื่อว่า เลนนาร์ด เบิร์นสไตลน์ พ่อของเบิร์น เดวิด ฮิลเลอร์ เบิร์นสไตน์
เป็นหมอ ส่วนแม่ของเบิร์น ซารา กอร์ดอน เบิร์นสไตน์ มีอาชีพเป็นนักเขียน เบิร์น
มีพี่น้องคนเดียวคือ เกรซ น้องสาวซึ่งมีอายุน้อยกว่าเขา 5 ปี
พ่อแม่ของเบิร์นอพยพมาจากรัสเซียและโปแลนด์. ทั้งพ่อและแม่ของเบิร์น จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์, อีริค
ซึ่งสนิทกับพ่อของเขามาก, ได้เล่าถึงการเป็นผู้ช่วยพ่อดูรักษาผู้ป่วย.
คุณหมอเบิร์นสไตน์เสียชีวิตด้วยวัณโรคด้วยวัย 38 ปี.
แม่ของเบิร์นของเสาหลักของครอบครัวหลังพ่อเขาเสียชีวิต
เธอสนับสนุนให้เบิร์นเรียนด้านแพทย์เพื่อดำเนินรอยตามคุณหมอเบิร์นสไตน์พ่อของเบิร์น.
เบิร์น จบแพทยศาสตร์ และศัลยศาสตร์จากวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์
ในปี 1935
แนวคิดที่สำคัญ
ภาวะตัวตน(EGO STATES) และความสัมพันธ์ (TRANSACTIONS)
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นที่มาของความสัมพันธ์(Transactions). ความสัมพันธ์หนึ่งๆจะแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ สิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response).โดยปกติแล้วความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์โดยรวม. แต่ละด้านของความสัมพันธ์หรือผลของความสัมพันธ์อาจอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ทางตรงไปตรงมา เมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์ พวกเขาจะแสดงในรูปของสภาวะตัวตน(Ego State) 3 ประเภทซึ่งแตกต่างกันไป บุคคลสามารถแสดงพฤติกรรมจากสภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ (Parent Ego State). สภาวะตัวตนของเด็ก(Child ego State) หรือจาก สภาวะตัวตนของผู้ใหญ่ (Adult ego State). เช่นเดียวกัน พฤติกรรมของเราก็มาจากสภาวะตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างนี้.
สภาวะตัวตนแบบเด็ก(Child Ego State)
เมื่อเราอยู่สภาวะตัวตนแบบเด็ก เราจะแสดงออกเหมือนเด็ก. ไม่ใช่แค่แสดงออกเท่านั้น เราจะคิด รู้สึก มอง ได้ยิน และตอบสนองราวกับเด็กอายุสามขวบ ห้าขวบ หรือแปดขวบ สภาวะตัวตนเกิดจากสภาวะที่บุคคลมีประสบการณ์อย่างเต็มที่ ไม่ใช่เพียงแค่บทบาทหนึ่งเท่านั้น เมื่อเด็กมีความรู้สึกเกลียดหรือรัก ตื่นเต้น เป็นธรรมชาติ หรือชอบเล่นสนุก เราจะเรียกเด็กประเภทนี้ว่า เด็กตามธรรมชาติ(Natural Child). เมื่ออยู่ภาวะช่างคิด ชอบทำโน่นทำนี่ ช่างจินตนาการ เราจะเรียกภาวะแบบนี้ว่า ศาสตราจารย์ตัวน้อย (Little Professor). เมื่อเขารู้สึกกลัว รู้สึกผิด ขี้อาย สภาวะนี้จะถูกเรียกว่า เด็กที่อยู่ในโอวาท(Adapted Child). เด็กอาจมีความรู้สึกได้ทุกอย่างที่กล่าวมา ภาวะตัวตนแบบเด็กอาจปรากฏเป็นเวลานานในรูปของ ความซึมเศร้า หรือเศร้าโศก ดังในกรณีของคนที่ประสบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ในชีวิต.
ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ (Parent ego State)
ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่มีลักษณะตรงกับข้ามกับภาวะตัวตนแบบเด็ก ภาวะตัวตนแบบพ่อมีจะมีลักษณะเก็บจำล่วงหน้า ด่วนตัดสิน มีอคติล่วงหน้าในการดำรงชีวิต เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ เขาจะคิด รู้สึก และแสดงออกเหมือนพ่อแม่หรือคนที่เขาถือเป็นแบบอย่าง. ภาวะตัวแบบพ่อแม่จะตัดสินใจ ว่าจะต้องสนองต่อเหตุการณ์อย่างไร อะไรดีหรือไม่ดี และบุคคลจะดำรงชีวิตอยู่อย่างไร โดยไม่จำเป็นต้องอิงอยู่กับหลักเหตุผล. ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่อาจแสดงออกในรูปของการตัดสิน ต่อต้าน ควบคุม หรือให้การสนับสนุนก็ได้. ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ที่แสดงออกในรูปการติเตียน จะถูกเรียกว่า พ่อแม่ช่างตำหนิ(Critical Parent). ภาวะตัวตัวแบบพ่อแม่ที่แสดงออกในรูปของการสนับสนุนจะถูกเรียกว่า พ่อแม่ผู้อารีย์(Nurturing Parent). ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่จะใช้วิธีการแบบ “เทปเก่า” ในการแก้ปัญหา ทั่วไปอาจเป็นข้อมูลย้อนหลังไป 25 ปีก่อน(และอาจเป็น 250 ปี หรือ 2,500 ปีก่อน)และจะเป็นประโยชน์เมื่อไม่มีข้อมูลสำหรับภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ หรือไม่มีเวลาให้ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ได้คิด. หรืออีกนัยหนึ่ง ภาวะตัวตนแบบเด็ก จะสร้างนิยายบนพื้นฐานของลางสังหรณ์ แต่วิธีการแก้ปัญหาแบบนี้อาจไม่น่าเชื่อถือมากพอสำหรับการตัดสอนใจของภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่.
ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่(THE ADULT)
เมื่ออยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่(Adult ego state) บุคคลจะแสดงออกเหมือนคอมพิวเตอร์. ทำงานตามข้อมูลที่รวบรวมได้และเก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจตามโปรแกรมที่อิงตามหลักตรรกะ.เมื่ออยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ บุคคลจะใช้ความคิดแบบตรรกะในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้แน่ใจว่าภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่และแบบเด็กไม่มีกระบวนการ. ดังนั้น การใช้อารมณ์จึงไม่ใช่สิ่งที่ดีในความคิดของคนที่มีภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่. ในที่นี้หมายถึงการใช้เหตุผลหรือการคิดแบบตรรกะที่พวกเราต้องการที่จะแยกตัวเราเองออกจากอารมณ์ของเราเท่านั้น. ไม่ได้หมายความว่า การมีเหตุผลหรือหลักการคิดแบบตรรกะจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในทุกเวลา. ดังนั้น ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ที่แยกตัว จะมีผลกระทบชัดเจนต่อบุคคล
ภาวะตัวตน(EGO STATES) และความสัมพันธ์ (TRANSACTIONS)
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นที่มาของความสัมพันธ์(Transactions). ความสัมพันธ์หนึ่งๆจะแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ สิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response).โดยปกติแล้วความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์โดยรวม. แต่ละด้านของความสัมพันธ์หรือผลของความสัมพันธ์อาจอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ทางตรงไปตรงมา เมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์ พวกเขาจะแสดงในรูปของสภาวะตัวตน(Ego State) 3 ประเภทซึ่งแตกต่างกันไป บุคคลสามารถแสดงพฤติกรรมจากสภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ (Parent Ego State). สภาวะตัวตนของเด็ก(Child ego State) หรือจาก สภาวะตัวตนของผู้ใหญ่ (Adult ego State). เช่นเดียวกัน พฤติกรรมของเราก็มาจากสภาวะตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างนี้.
สภาวะตัวตนแบบเด็ก(Child Ego State)
เมื่อเราอยู่สภาวะตัวตนแบบเด็ก เราจะแสดงออกเหมือนเด็ก. ไม่ใช่แค่แสดงออกเท่านั้น เราจะคิด รู้สึก มอง ได้ยิน และตอบสนองราวกับเด็กอายุสามขวบ ห้าขวบ หรือแปดขวบ สภาวะตัวตนเกิดจากสภาวะที่บุคคลมีประสบการณ์อย่างเต็มที่ ไม่ใช่เพียงแค่บทบาทหนึ่งเท่านั้น เมื่อเด็กมีความรู้สึกเกลียดหรือรัก ตื่นเต้น เป็นธรรมชาติ หรือชอบเล่นสนุก เราจะเรียกเด็กประเภทนี้ว่า เด็กตามธรรมชาติ(Natural Child). เมื่ออยู่ภาวะช่างคิด ชอบทำโน่นทำนี่ ช่างจินตนาการ เราจะเรียกภาวะแบบนี้ว่า ศาสตราจารย์ตัวน้อย (Little Professor). เมื่อเขารู้สึกกลัว รู้สึกผิด ขี้อาย สภาวะนี้จะถูกเรียกว่า เด็กที่อยู่ในโอวาท(Adapted Child). เด็กอาจมีความรู้สึกได้ทุกอย่างที่กล่าวมา ภาวะตัวตนแบบเด็กอาจปรากฏเป็นเวลานานในรูปของ ความซึมเศร้า หรือเศร้าโศก ดังในกรณีของคนที่ประสบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ในชีวิต.
ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ (Parent ego State)
ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่มีลักษณะตรงกับข้ามกับภาวะตัวตนแบบเด็ก ภาวะตัวตนแบบพ่อมีจะมีลักษณะเก็บจำล่วงหน้า ด่วนตัดสิน มีอคติล่วงหน้าในการดำรงชีวิต เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ เขาจะคิด รู้สึก และแสดงออกเหมือนพ่อแม่หรือคนที่เขาถือเป็นแบบอย่าง. ภาวะตัวแบบพ่อแม่จะตัดสินใจ ว่าจะต้องสนองต่อเหตุการณ์อย่างไร อะไรดีหรือไม่ดี และบุคคลจะดำรงชีวิตอยู่อย่างไร โดยไม่จำเป็นต้องอิงอยู่กับหลักเหตุผล. ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่อาจแสดงออกในรูปของการตัดสิน ต่อต้าน ควบคุม หรือให้การสนับสนุนก็ได้. ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ที่แสดงออกในรูปการติเตียน จะถูกเรียกว่า พ่อแม่ช่างตำหนิ(Critical Parent). ภาวะตัวตัวแบบพ่อแม่ที่แสดงออกในรูปของการสนับสนุนจะถูกเรียกว่า พ่อแม่ผู้อารีย์(Nurturing Parent). ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่จะใช้วิธีการแบบ “เทปเก่า” ในการแก้ปัญหา ทั่วไปอาจเป็นข้อมูลย้อนหลังไป 25 ปีก่อน(และอาจเป็น 250 ปี หรือ 2,500 ปีก่อน)และจะเป็นประโยชน์เมื่อไม่มีข้อมูลสำหรับภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ หรือไม่มีเวลาให้ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ได้คิด. หรืออีกนัยหนึ่ง ภาวะตัวตนแบบเด็ก จะสร้างนิยายบนพื้นฐานของลางสังหรณ์ แต่วิธีการแก้ปัญหาแบบนี้อาจไม่น่าเชื่อถือมากพอสำหรับการตัดสอนใจของภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่.
ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่(THE ADULT)
เมื่ออยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่(Adult ego state) บุคคลจะแสดงออกเหมือนคอมพิวเตอร์. ทำงานตามข้อมูลที่รวบรวมได้และเก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจตามโปรแกรมที่อิงตามหลักตรรกะ.เมื่ออยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ บุคคลจะใช้ความคิดแบบตรรกะในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้แน่ใจว่าภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่และแบบเด็กไม่มีกระบวนการ. ดังนั้น การใช้อารมณ์จึงไม่ใช่สิ่งที่ดีในความคิดของคนที่มีภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่. ในที่นี้หมายถึงการใช้เหตุผลหรือการคิดแบบตรรกะที่พวกเราต้องการที่จะแยกตัวเราเองออกจากอารมณ์ของเราเท่านั้น. ไม่ได้หมายความว่า การมีเหตุผลหรือหลักการคิดแบบตรรกะจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในทุกเวลา. ดังนั้น ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ที่แยกตัว จะมีผลกระทบชัดเจนต่อบุคคล
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=psychologist&date=17-11-2006&group=2&gblog=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น